ReadyPlanet.com
dot dot
dot
VinitoTravel Licence 11 / 09847
dot
bulletใบอนุญาตนำเที่ยวของเรา
bulletMy Profile
bulletบอร์ดทีลอซู
dot
ทัวร์ต่างประเทศ By VinitoTravel.Com
dot
bulletทัวร์เวียดนาม
bulletทัวร์เวียดนาม 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์เวียดนามเหนือ
bulletทัวร์เวียดนามกลาง
bulletทัวร์เวียดนามใต้
bulletทัวร์ซาปา
bulletทัวร์ดานัง
bulletทัวร์ดาลัด
bulletทัวร์ลาว
bulletทัวร์ลาว 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์ลาว 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์หลวงพระบาง
bulletทัวร์วังเวียง
bulletทัวร์เวียงจันทน์
bulletทัวร์สิงคโปร์
bulletทัวร์สิงคโปร์ 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์บาหลี
bulletทัวร์บาหลี 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์พม่า
bulletทัวร์พม่า 3 วัน 2 คืน
dot
โปรแกรมช่วง ก.พ.- พ.ค.
dot
bulletแพคเกจทัวร์ .. เกาะกูด 3D2N
bulletน้ำตกทีลอซู จ.ตาก 2D1N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 3D2N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 2D1N
dot
โปรแกรมช่วง มิ.ย. - ต.ค.
dot
bulletทีลอซู .. ทริปเดินเท้า 3D2N
bulletแพคเกจทัวร์ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเขาค้อ-ทับเบิก-ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเพื่อนบ้านของเรา


ศึกษาเกาะสุรินทร์ article
 

         ผ่านปีใหม่ไปหมาด ๆ ผมมีภารกิจเดินทางสู่หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เป็นโครงการวิจัยร่วมมือกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทำการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายฝั่ง ทำงานติดต่อกันข้ามปี ตั้งแต่กลางปีก่อนที่หมู่เกาะอ่างทอง จุดศึกษาที่เลือกสรรแล้วว่าเหมาะสมสำหรับอ่าวไทย อีกจุดคือตัวแทนของทะเลอันดามัน และนั่นคือ...หมู่เกาะสุรินทร์
       
       เหตุผลที่เกาะสุรินทร์ได้รับการคัดเลือก ช่างตอบได้ง่ายคล้ายการปอกกล้วย เพราะที่นี่คือแนวปะการังใหญ่สุดของอันดามัน รวมแล้วกว่า 8 ตารางกิโลเมตร ยังมีหาดทรายแสนบริสุทธิ์ แหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนแม้มีน้อย แต่โดดเด่นด้วยไม่เคยมีใครเหยียบย่ำรุกล้ำหรือทำการประมงใด หมู่เกาะสุรินทร์เป็นจุดที่มีการศึกษาวิจัยยาวนานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสี่ห้าปีหลัง ทีมงานจากหลายมหาวิทยาลัยพากันลงไปทำงาน จนกล้ากล่าวว่า นี่คือแหล่งศึกษาแนวปะการังอินเทรนด์สุดในยุคนี้
       แต่ทะเลแสนลึกล้ำ แม้เราเคยทำงานเนิ่นนาน ข้อมูลที่ได้ไม่พอเพียง ยังห่างไกลจากคำว่า "ศึกษาโดยสมบูรณ์" อีกเยอะแยะ ข้อมูลส่วนใหญ่เจาะจงเฉพาะชีวิตที่น่าสนใจต่อการท่องเที่ยว เช่น ปลา แต่ถ้าถามว่าใครเอ่ยมีข้อมูลแพลงก์ตอน สาหร่าย กระแสน้ำ คุณภาพน้ำ ฯลฯ และนั่นคือความเว้าแหว่งของข้อมูล จิ๊กซอว์ต้องต่อให้ครบจึงจะเล่นจบฉันใด การศึกษาธรรมชาติเป็นเฉกเช่นกันฉันนั้น
       
       ทีมงานของเราประกอบด้วยนักวิจัย 30 ท่าน ทำการศึกษาทะเลเกาะสุรินทร์ติดต่อกัน 7 วัน นับเป็นการศึกษาทางทะเลครั้งใหญ่สุดของหมู่เกาะสุรินทร์ แต่ละท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ ทั้งสองท่านเกษียณแล้ว แต่คำว่าเกษียณไม่มีความหมายสำหรับคนที่เป็นครูบาอาจารย์ ทั้งสองท่านจึงยินดีเต็มใจ แม้ครูอายุเจ็บสิบครูก็จะบุกน้ำข้ามทะเลไปให้ความรู้ภาคปฏิบัติกับลูกศิษย์ ประโยชน์ที่ได้จึงนับว่าเหลือคณานับ
       
       เราแบ่งงานเป็น 3 อย่าง ส่วนแรกคือแนวปะการัง ผู้เชี่ยวชาญต่างลงใต้ทะเล ตามหาสิ่งมีชีวิตที่แต่ละคนชำนิชำนาญ ทั้งสาหร่าย ปะการัง ปลา กุ้ง ปู ดาวทะเล เม่นทะเล จนถึงฟองน้ำและเพรียงหัวหอม เราขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาโดยเฉพาะ
       
       การขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ในวงการวิทยาศาสตร์ทางทะเลถือเป็นเรื่องธรรมดา พวกเราไม่ว่าอยู่มหาวิทยาลัยไหน ทำงานสาขาใด ล้วนเป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง หากคนที่ทำงานด้านนี้จริง ทำกันไม่ทิ้งทำแล้วทำเลย ทะเลหล่อหลอมพวกเราให้กลืนเป็นหนึ่งเดียว องค์กรหรือสถาบันมีความหมาย แต่ทะเลมีความหมายมากกว่า และนั่นคือความสุขอย่างยิ่งยวดของคนที่ทำงานในวงการนี้
       
       นอกเรื่องไปนิด กลับมาที่การศึกษาอีกส่วนคือสัตว์บนพื้น นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเรียกว่า Benthos ทีมงานนี้แม้ไม่ต้องดำน้ำ แต่ฝ่าฝันกับแดดกล้า ตั้งป้อมบนหาดทรายในเวลาน้ำขึ้นสูงสุด เมื่อน้ำเริ่มลดก็เดินตามน้ำ ทั้งเก็บทรายเก็บสัตว์ ตรวจสอบปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพของพื้นที่ชายฝั่ง ยาวเหยียดหลายร้อยเมตรจวบจนประชิดติดขอบแนวปะการัง ผลงานที่ได้มีความหมาย ตัวอย่างเห็นง่าย เราพบว่าหาดทรายหน้าอุทยานหมู่เกาะสุรินทร์คือพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายของกั้งชนิดต่าง ๆ มากสุดแห่งหนึ่งของไทย มีทั้งกั้งชนิดแปลกและกั้งชนิดไม่แปลกแต่เป็นกั้งวัยอ่อน ลักษณะเช่นนี้จึงสำคัญมากสำหรับการศึกษาและการอนุรักษ์ทะเลต่อไป
       
       งานส่วนสุดท้ายคือหาชีวิตในมวลน้ำ ชีวิตที่ว่าคือ "แพลงก์ตอน" พวกเขามีทั้งสังเคราะห์แสงได้ หรือเรียกกันว่า Phytoplankton (แพลงก์ตอนพืช) อีกพวกคือแพลงก์ตอนไล่กินสัตว์จิ๋วตัวอื่นเป็นอาหาร มีชื่อว่า Zooplankton (แพลงก์ตอนสัตว์) คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า เจ้าชีวิตเหล่านี้มีประโยชน์อะไร ตัวก็เล็กมองก็ไม่เห็นปล่อยมันไปไม่ต้องศึกษาก็ได้ชิ้ว ๆ
       
       แต่...รู้จักนาโนเทคโนโลยีไหมครับ แฮ่ม...ของจิ๋วนี่แหละสำคัญนัก แพลงก์ตอนพืชที่มองไม่เห็นด้วยสายตา คือที่มาของออกซิเจนร้อยละ 90 ของดาวพระเคราะห์ดวงนี้ ว่าง่าย ๆ คือป่าไม้ต้นไม้ที่เราเห็นด้วยสายตาและคิดว่าสำคัญหนักหนา ผลิตออกซิเจนได้เพียง 10 เปอร์เซนต์
       
       แล้วแพลงก์ตอนสัตว์ล่ะ พวกเขาคือรากฐานของระบบนิเวศ เป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่า แต่หลายคนไม่ทราบหรอกว่า สัตว์ในทะเลเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหอยแครงหอยลายปลาเก๋าปลากะพงกุ้งทุกชนิด ล้วนเคยเป็นแพลงก์ตอนตัวจิ๋วในช่วงชีวิตวัยอ่อน หากปราศจากการศึกษาพวกนี้ เราจะไม่มีทางทราบความสมบูรณ์และสถานภาพที่แท้จริงของท้องทะเลได้
       
       งานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจบแล้ว แต่งานที่เกี่ยวข้องยังไม่จบ เป็นงานที่เรากระหายข้อมูลเหลือเกิน แต่แทบไม่มีข้อมูล นั่นคือเรื่องเกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์และเคมี งานพวกนี้ต้องอาศัยเรือขนาดใหญ่ อาศัยทีมงานและอุปกรณ์ครบครัน อุปกรณ์แต่ละอย่างไม่ใช่กิ๊ว ๆ เชื่อไหมครับว่าเครื่องวัดกระแสน้ำและข้อมูลสิ่งแวดล้อม เราตั้งชื่อว่าซีวิค แต่ตอนหลังต้องเปลี่ยน กลายเป็นเอคลาส เพราะซีวิคราคาไม่พอ เจ้าเครื่องนี้ต้องส่งลงไปอยู่ในน้ำ 25 ชั่วโมง ห้ามแตะห้ามต้อง ห้อยไว้เฉย ๆ หากหลุดหายไปก็ A-Class หนึ่งคัน ใครที่ใช้เครื่องมือพวกนี้ต้องใจแข็งพอควร คล้ายกับเอาฟอร์จูนเนอร์ไปจอดใกล้ชายแดนเขมรแบบไม่ลอคน่ะครับ
       
       เมื่อได้ข้อมูลทุกด้าน นำมารวมกัน เราจะได้ภาพรวมของหมู่เกาะสุรินทร์แบบคร่าว ๆ ปัญหาคือการนำข้อมูลมาเชื่อมต่อ การศึกษาครั้งนี้แม้บิ๊กเบิ้ม แต่จำเป็นต้องอาศัยอีกหลายอย่างเป็นตัวเชื่อม ทั้งประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่อุทยาน ผู้ประกอบการ ยังหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น เช่น สังคมศาสตร์ พฤกษศาสตร์ เพราะเกาะสุรินทร์ไม่ได้มีแต่ทะเล ยังมีต้นไม้และชาวเลอาศัยอยู่
       
       งานสุดท้ายเป็นการติดตามผลกระทบจากสึนามิ ผมเน้นย้ำเสมอ "แนวปะการังกำลังฟื้น" ทว่า...ฟื้นไปสภาพไหนใครเล่าตอบได้ ใช้เวลานานอีกกี่ปีจะกลับเป็นเหมือนเดิม หรือไม่มีโอกาสอีกเลย เราบอกตรงนั้นไม่ได้ครับ แต่เราศึกษาติดตามเพื่อทำนายในระยะสั้นได้
       
       ผมเลือก "อ่าวผักกาด" เกาะสุรินทร์ใต้ เพราะที่นี่ได้รับผลกระทบในแทบทุกรูปแบบ ตั้งแต่น้อยมากตรงปลายอ่าว มากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นใกล้ยับเยินในส่วนท้ายที่อยู่ติดกับร่องน้ำ ปะการังมีทั้งหักพัง ล้มกลิ้ง และถล่มไหลเลื่อน ความเสียหายที่กล่าวมาเป็น 3 ใน 5 ของความเสียหายที่เกิดกับแนวปะการัง (รายละเอียดใน "คู่มืออันดามัน : ปะการัง พังงา สึนามิ" ซื้อหรือยังจ๊ะ ?)
       
       ผลของการติดตามค่อนข้างเศร้า แต่ก่อนบอกว่าเศร้ายังไง ต้องย้ำให้ชัด นี่คือผลการศึกษาเฉพาะอ่าวผักกาด ไม่นับรวมแนวปะการังแห่งอื่น จากเดิมที่ผมพบปะการังหัก บอกได้ว่าบางส่วนงอกใหม่ แต่อีกหลายก็ตายแน่นิ่ง พวกที่กล่าวถึงเป็นปะการังเขากวาง ถ้าเป็นปะการังก้อนหรือปะการังแผ่นนอน ตายเป็นส่วนมาก ที่รอดมีน้อยครับ
       
       แนวปะการังโดยเฉพาะส่วนที่ลาดชัน เดิมเคยเป็นแนวปะการังสวยมากของไทย แต่ตอนนี้เปลี่ยนสภาพไปย่ำแย่พอควร แต่ในส่วนพื้นราบหรือในเขตน้ำตื้น ยังอุดมด้วยปะการังและสัตว์นานาชนิด คล้ายกับสึนามิพามวลน้ำเฉียดร่องไป ไม่ได้ส่งผลกระทบภายใน ทำลายพื้นที่บริเวณขอบร่องน้ำหรือที่ลาดชัน
       
       สัตว์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเห็นชัดคือ “ดาวหนาม” ดาวทะเลชนิดนี้กินปะการังเป็นอาหาร ผมสังเกตว่า ยามใดที่ทะเลอ่อนแอ ดาวหนามมักมีจำนวนมากขึ้น เช่น โลซินหลังโดนปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ดาวหนามเพิ่มจำนวนขึ้นเห็นชัด เป็นมาจนถึงปัจจุบัน นับแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ปี แนวปะการังบางแห่งของเกาะสุรินทร์เจอผลกระทบเช่นนี้ โดยเฉพาะอ่าวผักกาด เห็นดาวหนามมากกว่าเดิม
       
       แต่...นั่นไม่ได้หมายความว่า เราควรช่วยแนวปะการังโดยจับดาวหนามมาตื้บ ๆ เพราะธรรมชาติย่อมมีแนวทางของตนเอง ดาวหนามก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อยู่คู่โลกมาตั้งแต่ลิงยังไม่แปลงร่างเป็นคน สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือติดตามสภาพ ก่อนนำข้อมูลอัพเดทที่สุดมาใช้ในการอนุรักษ์และจัดการแนวปะการัง
       
       ผลการศึกษาครั้งนี้มีมากมายหลายร้อยหน้า นั่นเป็นหน้าที่ของทีมงานผู้ศึกษา ผมคงไม่นำมาเปิดเผย แต่ที่อยากเล่าคือเบื้องหลังของข้อมูล เบื้องลึกของการศึกษาทางทะเล จากประสบการณ์ของบรมครูผู้ทำงานด้านนี้ทั้งชีวิต อีกสองสัปดาห์ต่อจากนี้ หากไม่มีเหตุขัดข้องประการใด เราจะลองย้อนอดีตอ่านบทความสไตล์สัมภาษณ์จากศาตราจารย์กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมณต์ และศาสตราจารย์ ลัดดา วงศ์รัตน์ ปูชนียบุคลของวงการทะเลไทยครับ...



ขอขอบคุณ  ที่มา : 

                          โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2549 16:19 น.


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Travel News!!

การกลับมาของปลาการ์ตูน article
ภูกระดึง...ใกล้ใจ ไกลตีน article
หลากหลายความเห็นกับ " กระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง " article
เตรียมใจก่อนไป Siam Ocean Wolrd article
สยามพารากอน, สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล article
ท่องโลกใต้ทะเลแนวใหม่ ไปกับเรือดำน้ำ article
ถ้ำน้ำแข็ง " แก้วโกมล " (เริ่ม) มัวหม่นเพราะใคร ? article
อันซีนฯ อันดามัน article
" ตะรุเตา " เกาะสวรรค์แห่งอันดามัน article
นานาทัศนะทะเลไทย ครบ 1 ปี หลังสึนามิ article
ประติมากรรมใต้ทะเล article
1 ปีสึนามิกับความแตกต่างทางอารมณ์ article
สุนทรภู่ article
รู้จักไม้มงคลประจำวันเกิดและราศีเกิด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ออนทูทัวร์

[ที่พักติดหาดปากน้ำหลังสวน : 99bayresort]