ReadyPlanet.com
dot dot
dot
VinitoTravel Licence 11 / 09847
dot
bulletใบอนุญาตนำเที่ยวของเรา
bulletMy Profile
bulletบอร์ดทีลอซู
dot
ทัวร์ต่างประเทศ By VinitoTravel.Com
dot
bulletทัวร์เวียดนาม
bulletทัวร์เวียดนาม 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์เวียดนามเหนือ
bulletทัวร์เวียดนามกลาง
bulletทัวร์เวียดนามใต้
bulletทัวร์ซาปา
bulletทัวร์ดานัง
bulletทัวร์ดาลัด
bulletทัวร์ลาว
bulletทัวร์ลาว 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์ลาว 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์หลวงพระบาง
bulletทัวร์วังเวียง
bulletทัวร์เวียงจันทน์
bulletทัวร์สิงคโปร์
bulletทัวร์สิงคโปร์ 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์บาหลี
bulletทัวร์บาหลี 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์พม่า
bulletทัวร์พม่า 3 วัน 2 คืน
dot
โปรแกรมช่วง ก.พ.- พ.ค.
dot
bulletแพคเกจทัวร์ .. เกาะกูด 3D2N
bulletน้ำตกทีลอซู จ.ตาก 2D1N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 3D2N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 2D1N
dot
โปรแกรมช่วง มิ.ย. - ต.ค.
dot
bulletทีลอซู .. ทริปเดินเท้า 3D2N
bulletแพคเกจทัวร์ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเขาค้อ-ทับเบิก-ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเพื่อนบ้านของเรา


การกลับมาของปลาการ์ตูน article


 

     “นี่แน่ะ ๆ เฮ้ย !”
       
       ผมอุทานใต้น้ำ ยามเมื่อกำลังหันไปฟาดฟันกับปลานกขุนทอง “เขียวพระอินทร์” ตัวหนึ่ง ขณะที่อีกตัวชะแว้บเข้ามาข้าง ๆ ก่อนอ้าปากอ้ำปลาการ์ตูนตัวน้อยเข้าไปในปาก เห็นเพียงหัวโผล่มานัยน์ตาเหลือกราน
       
       “เข้าไปสิวุ้ย” ผมพยายามต้อนปลาน้อยอีกสองตัวให้เข้าไปในดอกไม้ทะเล แต่พวกเธอไม่ยอม คล้ายเกิดมาไม่รู้จัก ดอกไม้ทะเล...อะไรเหรอ ? ลอยตุ๊บป่องอยู่ตรงนี้ดีกว่า จ๊าก !
       
       ใช้เวลาอีกเพียงไม่กี่วินาที ปลาน้อยทั้งคู่หายไปในพุงของปลานกขุนทอง ผมส่ายหน้าก่อนเขยิบมาดูอีกกอ นีโมฝูงนี้ตัวใหญ่หน่อย เกินขนาดปากปลานกขุนทอง คงรอดได้นะเนี่ย แต่...นั่นอะไร ? เฮ้ย...ปลาเก๋าปลากะพง บุฟเฟ่ต์ใต้ทะเลหรือไงเพ่
       
       ตลอดบ่ายวันนั้น ปลากินเนื้อทุกตัวที่แนวปะการังเกาะห้า จังหวัดกระบี่ ล้วนอิ่มหนำสำราญจากปลาการ์ตูนที่เรานำมาปล่อย ส่วนนักปล่อยต่างกลับมาด้วยความเศร้าสร้อย ปล่อยปลาหรือเลี้ยงอาหารปลานะเนี่ย
       
       ปลาการ์ตูน...ปลาสลิดหินกลุ่มหนึ่ง ทั้งโลกมี 28 ชนิด ในไทยพบ 7 ชนิด เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการพิเศษ สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล โดยที่ปลาอื่นไม่กล้าเข้ามารุกราน เพราะเกรงกลัวเข็มพิษของดอกไม้ทะเล นั่นคือสิ่งที่ผมรู้จากหนังสือ
       
       นีโม...ปลาการ์ตูนส้มขาวแสนน่ารัก ต้องผจญภัยตามบทบาทของพระเอก Finding Nemo ภาพยนต์อนิเมชั่นทำรายได้สูงสุด ทั้งที่เนื้อหาพยายามสื่อให้เห็นถึงความลำเค็ญของปลาน้อยยามต้องจากบ้านมาอยู่ในตู้ แต่อีกกระแสหนึ่งเกิดขึ้น เด็ก ๆ ทั่วโลกคิดว่านีโมคือสัตว์เลี้ยง ต่างพากันซื้อหามาเลี้ยงยกใหญ่
       
       ในไทย...ราคานีโมในตลาดซันเดย์ อยู่ที่ 40-50 บาท หลังภาพยนต์จนถึงปัจจุบัน ราคาพุ่งกระฉูดเป็นกว่าหนึ่งร้อยบาท ยังเป็นปลาทะเลที่คนรู้จักดีสุด จึงเป็นที่ต้องการของอะควอเรี่ยมทั่วโลก
       
       นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลไทยพากันศึกษา เพื่อดูผลกระทบที่เกิดขึ้น เราพบว่านีโมอาศัยอยู่เฉพาะทะเลอันดามัน (มีรายงานในอ่าวไทยบ้างแต่น้อยมากและเป็นเฉพาะจุด) ปลาการ์ตูนอีกชนิดที่มีจำนวนมากใกล้เคียงนีโมคือ “อินเดียน” แต่เป็นปลาน้อยสีตุ่นไม่เร้าใจ
       
       ในสภาพธรรมชาติ แนวปะการังที่ได้รับการปกป้องอย่างดี สัดส่วนของนีโมและอินเดียนมีใกล้เคียงกัน แต่ในแนวปะการังบางแห่งที่เคยมีรายงานว่ามีนีโมอยู่มาก ถูกรุกรานโดยนักจับปลา สัดส่วนจึงผิดแปลกไป กลายเป็นอินเดียนห้าร้อยตัว มีนีโมเหลือแค่สองสามตัว
       
       ปลาการ์ตูนเป็นสัตว์น้ำที่อยู่เป็นแหล่ง ไม่ว่ายจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะ ตัวอ่อนเป็นแพลงก์ตอนแม้จะลอยน้ำแพร่กระจาย แต่ถ้าพ่อแม่ถูกลุยเรียบทะเล ปริมาณตัวอ่อนย่อมหาย โอกาสที่นีโมจะกลับมาในพื้นที่ใหม่เป็นไปได้ยากชะมัด แล้วธรรมชาติเดือดร้อนไหม...อาจเดือดบ้าง แต่ที่เดือดร้อนจริงคือพวกเรา เพราะนีโมล้วนเป็นที่สนใจของนักเที่ยวดำน้ำ เหลือแต่ดอกไม้ทะเลตุ่น ๆ กับปลาอินเดียนสีไม่ชวนฝัน ความงามความประทับใจต่อโลกใต้ทะเลย่อมหดหาย มาแล้วอยากมาอีกเหรอ...ไม่เอาแล้ว
       
       กรมประมง โดยศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จังหวัดกระบี่ ได้พยายามเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน จนประสบความสำเร็จ ผมเจอพี่ไพบูลย์ หัวหน้าสถานี พี่เค้าบอกว่าเพาะได้ 13 ชนิดแล้วครับอาจารย์ (บางสายพันธุ์ไม่มีในไทย) เราพยายามจะส่งเข้ากรุงเทพและเมืองนอก เพื่อลดความต้องการของปลาจากท้องทะเล อีกทั้งยังช่วยให้ผู้คนมีอาชีพใหม่ ๆ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น
       
       เมื่อเพาะได้ เดือนละหลายพันตัว ย่อมมีแนวคิด ทำไมเราไม่คืนปลาสู่ทะเลบ้าง เพราะเราทราบดีว่าปลาถูกจับไปจากทะเล กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อสัตว์น้ำจากซันเดย์หรือร้านขายปลามาปล่อย เพราะยิ่งซื้อเท่ากับส่งเสริมให้ยิ่งจับ เรานำเฉพาะปลาการ์ตูนที่เพาะได้มาปล่อย เป็นสายพันธุ์เดียวกัน พ่อแม่ก็มาจากทะเลกระบี่นั่นแหละ
       
       ผมนิยมการรักษามากกว่าการฟื้นฟู แต่เมื่อมองเหตุและผล รู้สึกว่าเราอยากเข้าไปช่วยบ้าง เมื่อปลายปี 2546 เราจึงไปปล่อยปลากัน “เรา” หมายถึงกรมประมงเป็นโต้โผ พิมาลัยรีสอร์ท...ที่พักสุดหรูในเกาะลันตา ช่วยเป็นผู้สนับสนุนตลอดรายการ มีนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลอันได้แก่ผมและลูกศิษย์คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับนักดำน้ำอาสาสมัครบนเกาะลันตาและพี่โนแห่ง Oceanic Thailand
       ผมเคยสงสัยมาเนิ่นนาน ปล่อยปลาล้านตัว รอดกี่ตัวจ๊ะ ? ปล่อยลูกเต่าลงทะเล รอดบ้างไหมเอ่ย ? แต่การติดตามเพื่อนับจำนวนผู้รอดตาย ทำไม่ได้ในกรณีนั้น แต่ทำได้ในกรณีปลาการ์ตูน เพราะพวกเขาอยู่เป็นที่ เมื่อปล่อยเสร็จจึงให้นิสิตนับ ก่อนพบตัวเลขน่าสะพรึง ภายในไม่กี่วัน ปลาหลายพันเหลือเพียง 2 ตัว
       
       นี่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ผมเริ่มคิดเช่นนั้น ทราบดีกว่ากระแสอนุรักษ์ทะเลมาแรงและคงแรงต่อไป เอกชนหลายรายเข้ามาติดต่อ อยากทำโน่นนี่ให้ทะเล ใครต่อใครล้วนอยากฟื้นทะเล สมัยก่อนเราปล่อยหอยมือเสือ แต่หอยปล่อยยากแถมไม่น่ารัก สู้นีโมไม่ได้ ในอนาคตต้องมีใคร ๆ อยากเข้ามาปล่อยปลาอีกเยอะแน่ อย่ากระนั้นเลย เราคงต้องทำการศึกษาให้แน่ชัด ปล่อยแล้วเป็นไง ปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาเหล่านั้น ? ข้อมูลพวกนี้คงมีส่วนช่วยให้เจตนาดีของผู้ช่วยทะเลประสบความสำเร็จมากขึ้น
       
       ลูกศิษย์รายหนึ่งกำลังถดถอยกับวิทยานิพนธ์ที่ดูแล้วไม่สำเร็จหรอก ผมเสนอเรื่องนี้ให้ เขาสนใจทันที วางแผนการศึกษาจนเสร็จสรรพ สร้างการทดลองใต้ทะเล ทั้งจำนวนปลาที่ปล่อย อัตรารอด ฯลฯ เราจะลองไปดูในทะเลว่าเป็นอย่างไร ธันวาคมปี 48 คือเดือดดีเดย์เริ่มการทดลอง
       
       ก่อนหน้าเราจะเริ่มลงมือ มีการปล่อยปลาครั้งหนึ่ง 999 ตัว ลูกศิษย์ผมเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ ก่อนนำผลมารายงาน ปล่อยตอนเที่ยงวัน เช้าของอีกวันไม่มีปลาเหลือเลยสักตัว ยังหมายถึงม้าน้ำ 299 ตัว หายเหี้ยนเรียบทะเล นั่นคือหลักฐานอีกครั้ง การปล่อยปลาไม่ง่ายเลย ไม่ง่ายสักนิด ไม่ง่าย...เพราะเหตุใด ?
       
       หนึ่ง...ปลาที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ไม่เคยเห็นทะเล ไม่รู้จักดอกไม้ทะเลด้วยซ้ำ เราพยายามแก้ปัญหา โดยนำดอกไม้ทะเลไปใส่ไว้ในบ่อเลี้ยง แต่ดอกไม้หายาก แถมยังเพาะเลี้ยงไม่ได้ ต้องไปเก็บจากธรรมชาติ ทำไปทำมาจะกลายเป็นการสังหารหมู่ดอกไม้ทะเล
       
       สอง...ปลาโง่ นีโมไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นเป้านิ่ง ตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยว่ายหนีปลาอื่น ไม่เคยฝึกฝีมือในธรรมชาติ แม้จะเข้าไปอยู่กับดอกไม้ทะเล ก็อยู่อย่างงั้น ๆ ลอยตัวกิ๊วก๊าว พอโดนปลาอื่นไล่ นีโมร้องว้ายว่ายหนีไม่ลืมหูลืมตา เข้าปากปลาอีกตัว
       
       ตรงนี้คือหนึ่งสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ การอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล ต้องใช้พฤติกรรมที่ฝึกฝน หากเป็นธรรมชาติ ปลาน้อยว่ายเข้ามา อาศัยในดอกไม้ทะเล ถูกปลาเจ้าถิ่นว่ายไล่ ถูกปลาอื่นล่า แต่ละวันผ่านการฝึกฝน ปลาอ่อนแอลาตาย ปลาที่เหลือได้ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ชำนิชำนาญถึงอยู่รอด ทว่า...จู่ ๆ มนุษย์ก็เข้ามาจับปลาที่ผ่านการคัดเลือกเหล่านั้นไป แล้วไง...คิดจะเอาปลามาคืนเรอะ ไม่ง่ายเช่นนั้นหรอก
       
       ศัตรูของนีโมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม หนึ่งคือผู้ล่า ปลานกขุนทองนับร้อย (หลายร้อยด้วย) เฮฮาพวกเราเหล่ามาชุมนุมประชุมใจรัก กินปลาน้อยให้หมดสิ้น ยังมีปลาเก๋าค่อยย่องมาใกล้ ปลากะพงหน้ามืดดอกม้งดอกไม้ทะเลไม่สนแล้ววุ้ย
       
       อีกศัตรูดูเหมือนเพื่อน ได้แก่ ปลาการ์ตูนอินเดียน พวกเขาแม้เป็นสายพันธุ์เดียวกัน แต่ปลาสลิดหินเป็นปลามีอาณาเขต เดิมทีผมเข้าใจว่าเฉพาะดอกไม้ทะเลที่ยึดครอง จึงปล่อยนีโมในกอที่ว่าง แต่ปลาอินเดียนเจ้าปัญหา ว่ายมาจากกอหนึ่งห่างไปนับสิบเมตร เพื่อไล่นีโมน้อยผู้มาใหม่ในกอนี้ ไล่ไปไล่มา นีโมน้อยว่ายออกไปโดนปลาอื่นงับ ยังมีปลาสลิดหินพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ปลาการ์ตูน แต่มาร่วมไล่นีโมด้วยนะ สรุปแล้วไม่มีปลาตัวไหนในทะเลชอบเจ้าปลาน้อยนี่สักราย
       
       ผมไม่อาจเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หมด เพียงอยากบอกว่า มันยิ่งกว่าที่คุณคิด นักดำน้ำมือใหม่ลงไปขึ้นมาถึงร้องเหวอ บางคนทำท่าจะร้องไห้ด้วยซ้ำ มือเก่าเคยมีประสบการณ์ยังหัวหมุน ถึงกระนั้น เราอาศัยทุกความสามารถ ปล่อยปลาอีกชุด 800 ตัว ทำการศึกษาติดตามแบบซุ่มอยู่ในน้ำตลอดเวลา ปล่อยตอนเที่ยง ตอนตะวันตกดิน มีปลาเหลือ 61 ตัว ข้ามคืนมาอีกวัน เหลือปลา 8 ตัว ติดตามอีกห้าวันรวด ปลาแปดตัวยังคงรอด เราจะกลับไปดูใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์
       
       บทสรุปจากการปล่อย รวมปลาได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว ปล่อยกัน 3 เที่ยว ใช้นักดำน้ำนับแล้วร่วมร้อยคน เฉพาะค่าเพาะปลา 50,000 บาท ค่าเดินทางค่ากินค่าที่พักค่าเรือค่าน้ำมัน ใช้เวลารวมกันสิบวันเศษ ผมประเมินตัวเลขคร่าว ๆ เป็นล้าน
       
       เป็นล้าน...กับปลาที่รอดครั้งก่อน 2 ตัว ครั้งนี้ 8 ตัว แต่ละตัวลงทุนราวหนึ่งแสนบาท ยังไม่นับแรงกายแรงใจที่ทุ่มลงไป ตั้งแต่การเพาะจนถึงการปล่อย
       
       เรื่องนี้ยังไม่จบ...เพียงแค่เริ่ม เรายังต้องศึกษาพัฒนาวิธีการอีกครั้งและอีกครั้ง
       
       แต่เรื่องนี้จบแล้ว...จบสนิท สำหรับการตอบคำถามว่า เมื่อเราจับปลามา คิดปล่อยปลาคืน อะไรเกิดขึ้น ?
       
       มนุษย์สร้างทะเลไม่ได้ มนุษย์ทำได้เพียงรักษาทะเล...

 

ขอขอบคุณ  ที่มา  : 

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2549 17:26 น.

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Travel News!!

ศึกษาเกาะสุรินทร์ article
ภูกระดึง...ใกล้ใจ ไกลตีน article
หลากหลายความเห็นกับ " กระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง " article
เตรียมใจก่อนไป Siam Ocean Wolrd article
สยามพารากอน, สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล article
ท่องโลกใต้ทะเลแนวใหม่ ไปกับเรือดำน้ำ article
ถ้ำน้ำแข็ง " แก้วโกมล " (เริ่ม) มัวหม่นเพราะใคร ? article
อันซีนฯ อันดามัน article
" ตะรุเตา " เกาะสวรรค์แห่งอันดามัน article
นานาทัศนะทะเลไทย ครบ 1 ปี หลังสึนามิ article
ประติมากรรมใต้ทะเล article
1 ปีสึนามิกับความแตกต่างทางอารมณ์ article
สุนทรภู่ article
รู้จักไม้มงคลประจำวันเกิดและราศีเกิด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ออนทูทัวร์

[ที่พักติดหาดปากน้ำหลังสวน : 99bayresort]