ReadyPlanet.com
dot dot
dot
VinitoTravel Licence 11 / 09847
dot
bulletใบอนุญาตนำเที่ยวของเรา
bulletMy Profile
bulletบอร์ดทีลอซู
dot
ทัวร์ต่างประเทศ By VinitoTravel.Com
dot
bulletทัวร์เวียดนาม
bulletทัวร์เวียดนาม 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์เวียดนามเหนือ
bulletทัวร์เวียดนามกลาง
bulletทัวร์เวียดนามใต้
bulletทัวร์ซาปา
bulletทัวร์ดานัง
bulletทัวร์ดาลัด
bulletทัวร์ลาว
bulletทัวร์ลาว 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์ลาว 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์หลวงพระบาง
bulletทัวร์วังเวียง
bulletทัวร์เวียงจันทน์
bulletทัวร์สิงคโปร์
bulletทัวร์สิงคโปร์ 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์บาหลี
bulletทัวร์บาหลี 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์พม่า
bulletทัวร์พม่า 3 วัน 2 คืน
dot
โปรแกรมช่วง ก.พ.- พ.ค.
dot
bulletแพคเกจทัวร์ .. เกาะกูด 3D2N
bulletน้ำตกทีลอซู จ.ตาก 2D1N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 3D2N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 2D1N
dot
โปรแกรมช่วง มิ.ย. - ต.ค.
dot
bulletทีลอซู .. ทริปเดินเท้า 3D2N
bulletแพคเกจทัวร์ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเขาค้อ-ทับเบิก-ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเพื่อนบ้านของเรา


ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย .. ปาย กัน article


คลิ๊กชมบรรยากาศ
ได้ใน Facebook
จัดรูปลง Slide.Com

โปรแกรมทัวร์
วนทาง แม่ฮ่องสอน ก่อน

โปรแกรมทัวร์
วนทาง อ.ปาย ก่อน

  

ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเลือกบริการทัวร์วงกลมแม่ฮ่องสอน - ปางอุ๋ง - อ.ปาย ของเราออนทูทัวร์ เราขอให้ท่านพิจารณาเป็นข้อๆ ดังนี้
  1.
รถตู้ที่เราเลือกใช้  เป็นรถตู้รุ่นไหน? บนรถตู้มีอะไรให้บ้าง? ตรวจเช็คให้ครบก่อนออกรถนะครับ
     
< รูปรถตู้ทริปแม่ฮ่องสอน >
  2. บ้านพักที่เราเลือกใช้  สภาพเป็นยังไง  พักได้ห้องล่ะกี่ท่าน? 
      <  เดอะ คันทรี่ไซด์ รีสอร์ท  ...  วิวท้องนา มีระเบียงนั่งบนหลังคาที่พักส่วนตัว
          ( thecountrysidepai.com )  พักได้ 2-3 ท่าน 
>
      <  ปายละเมอ  ...  ที่พักชื่อเท่ห์ เจ้าของสร้างเองกับมือ  ( pailamertour.com )  พักได้ 2-3 ท่าน  >
      <  อากาเป้ เดอะ ปาย  ...  ที่พักใหม่  วิวแม่น้ำ ปลายน้ำของ ต้นน้ำปาย  ( Agape de Pai )  พักได้ 2-3 ท่าน  >
      <  อิ่มอิ่ม  ...  ที่พักใหม่  ห้องพักปรับอากาศ Eimeim )  พักได้ 2-3 ท่าน  >
      <  บ้านพักริมชล  ...  ที่พักใหม่ ห้องพักปรับอากาศ
  ( บ้านพักริมชล )  พักได้ 2-4 ท่าน  >
  3. อาหารการกิน  ทริปวงกลมแม่ฮ่องสอน - ปาย จัดอาหารให้ทั้งหมด 10 มื้อ  มีอะไรบ้าง?        
      อาหาร 10 มื้อ  เมนูอาหารวนทางแม่ฮ่องสอนก่อน >
      อาหาร 10 มื้อ  เมนูอาหารวนทาง อ.ปาย ก่อน >
  4. ระบบประกันการเดินทาง  มูลค่า  1  ล้านบาท/ท่าน  เราเลือกใช้ของใคร? < ประกันการเดินทางของ NZI >
  5. รายละเอียดโปรแกรมทัวร์  แต่ละวันไปไหนกันบ้าง? 
      < โปรแกรมทัวร์แม่ฮ่องสอน .. ช่วงดอกบัวตองบาน เดือนพฤศจิกายน >   < Print Program 
      < โปรแกรมทัวร์แม่ฮ่องสอน .. เดือนธันวาคม - มกราคม >  < Print Program >
  6. ความน่าเชื่อถือของเรา? กรณีที่ท่านไม่เชื่อมั่น ให้พิจารณาสิ่งนี้ < ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว >< My Profile >
  7. การลงชื่อจองทัวร์  ให้กรอกชื่อ  และทำตามขั้นตอนต่างๆ ในบอร์ดแม่ฮ่องสอน - ปาย นะครับ 
      < บอร์ดแม่ฮ่องสอน - ปาย >
  8. การพูดคุยทั่วไป  และชมบรรยากาศทริปที่ผ่านมา  เราจัดลงให้ดูใน Facebook นะครับ
      < แม่ฮ่องสอน Facebook >
  9. ทำไมจึงเรียกวงกลมแม่ฮ่องสอน - เชียงใหม่ ... พร้อมระบุตำแหน่งจุดที่เราจะแวะเที่ยวทั้งหมด 
      แผนที่วงกลมแม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่
 >
10. ซูมตำแหน่งจุดที่เที่ยวบนเส้นทางวงกลมแม่ฮ่องสอน ซูมที่เที่ยวบางจุดให้เห็นภาพชัดขึ้น >
11. แผนที่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน แผนที่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน >
12. แผนที่ตัวเมืองปาย แผนที่ตัวเมืองปาย >   
13. กำหนดการเดินทาง และราคาทัวร์วงกลมแม่ฮ่องสอน - ปางอุ๋ง - อ.ปาย ... ชี้แจงอยู่ด้านล่างของหน้านี้นะครับ .. 
     
คณะ 20 ท่านขึ้นไป  สอบถามราคาพิเศษได้นะครับ

 www.OnToTour.CoM ขอแนะนำเว็บเกี่ยวกับ ปาย
   ©
taluitamtawan.com
  เว็บนี่บอกเล่าเรื่องราวประกอบภาพบรรยากาศได้เป็นอย่างดีครับ
   © thailandoutdoor.com  บอกเล่าการเดินทางไป ปาย เมื่อ มีนาคม 2543 
                                                                                        

     หาก " หลวงพระบาง " คือ "ยูโทเปีย" ดินแดนแห่งอุดมคติสำหรับนักเดินทางชาวต่างชาติ เหลียวข้ามมามองอีกฝั่งน้ำโขง อำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งของแม่ฮ่องสอน ดินแดนแห่งหมอกสามฤดู มีเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา มีสายน้ำไหลพาดผ่านเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงคนในชุมชนมาช้านาน ลำน้ำสายนั้นได้กลายมาเป็นชื่อที่ตั้งของเมืองแห่งนี้ ... อำเภอ ปาย
       
    นับตั้งแต่ฝรั่งตาน้ำข้าวคนหนึ่งได้เช่ามอเตอร์ไซค์วิบากจากจังหวัดเชียงใหม่ ลัดเลาะเทือกเขานับพันโค้งมายังดินแดนปิดที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักในเวลานั้น เขาตกหลุมรักเมืองเล็กๆ แห่งนี้เข้าอย่างจัง ความประทับใจนั้นทำให้เขาต้องกลับมาเยือนที่นี่อีกหลายครั้งเพื่อเก็บข้อมูลไปเขียนหนังสือ จากนั้นชื่ออำเภอเล็กๆ ของแม่ฮ่องสอนอย่าง " ปาย " ก็ติดปากติดหูนักเดินทางค่อนโลก จากคำแนะนำถึงเมืองเล็กๆ ที่มีเสน่ห์ของไกด์บุ๊คชื่อดัง "Lonely Planet"
       
    วันนี้ ปาย ยังคงรุดหน้าตามวันเวลาที่ผันผ่าน เช่นเดียวกับสายน้ำ ปาย ที่ไม่อาจไหลย้อนกลับทวนสู่ต้นน้ำได้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกระทบกับคนหลายคนมากมาย เป็นดั่งนาฏกรรมแห่งชีวิตของผู้คนที่โลดแล่นอยู่ที่นี่โดยมีสายน้ำ ปาย เป็นฉากร่วมรับรู้
       
ยูโทเปีย – ยูทูปาย
       
    หลังจากที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จัก ปาย ได้ไม่นาน คนไทยก็เริ่มเดินทางมาท่องเที่ยวที่ ปาย เพิ่มขึ้น คนกลุ่มแรกๆ เป็นนักเดินทางที่ใฝ่ฝันถึงธรรมชาติและอยากสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบล้านนาที่แทบหาจากเชียงใหม่ไม่ได้แล้วในเวลานั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ปาย และแม่ฮ่องสอน คือดินแดนในอุดมคติของนักเดินทางทั้งไทยและเทศ จนมีคำกล่าวว่าที่นี่คือ "ยูโทเปีย" ของเมืองไทย
       
    แต่การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุด คือช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งที่ถูกพิษเศรษฐกิจเล่นงานจากเมืองหลวง ได้มุ่งหน้ามาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ จากเดือนเป็นปี จากกลุ่มคนไม่กี่คนกลายเป็นจำนวนหลายสิบ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนในแวดวงโฆษณาและศิลปินที่หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของที่นี่ ด้วยประทับใจในบรรยากาศอันเงียบสงบและอัธยาศัยไมตรีของผู้คนในเมืองเล็กๆ แห่งนี้
       
    ส่งผลให้ต่อมา ปาย กลายเป็นเมืองศิลปะและชุมชนศิลปินย่อยๆ แห่งหนึ่ง นักเดินทางที่มีโอกาสไปเยือน ปาย ต่างกลับมาเล่าขานถึงบรรยากาศที่ผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตท้องถิ่นกับกลิ่นอายศิลปะร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ภาพแกลลอรี่ศิลปะที่แทรกตัวอยู่ระหว่างร้านกาแฟเล็กๆ ในหมู่เรือนแถวไม้เก่าแก่ของชุมชน, ร้านหนังสือที่มีภาษาต่างประเทศครบเกือบหมดทุกภาษา ตั้งอยู่ใกล้ๆ วัดที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ ตลอดจนสตูดิโอปั้นเซรามิกและทำเครื่องเงินที่ซ่อนตัวอยู่ในทิวไม้ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา เหล่านี้คือความเปลี่ยนแปลงที่แต่งแต้มให้เมืองเล็กๆ แห่งนี้มีสีสันยิ่งขึ้น
       
    วันเพ็ญ สังขมี เจ้าของร้านมิตรไทย หนึ่งในผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯ กลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งรกรากและเปิดกิจการที่ อ.ปาย เล่าว่าเธอและคนรักก็เหมือนกับคนเมืองกลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งรกรากที่นี่ คือโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนต้องออกจากงานโฆษณา จึงนำฝีมือทางศิลปะที่ทั้งคู่มีติดตัวมาเปิดร้านขาย โปสการ์ด และของที่ระลึกขึ้นที่ ปาย
       
    เมื่อพูดคุยกับวันเพ็ญจึงได้ทราบว่าวลีฮิต "ยูโทเปีย-ยูทูปาย" (Utopia-You to Pai) นั้นเป็นผลงานความคิดของพวกเธอเอง เกือบ 10 ปีที่อยู่ที่นี่วันเพ็ญรู้สึกผูกพันกับผู้คนทั้งชาวบ้านและเพื่อนศิลปินที่มาตั้งรกรากที่นี่ ขณะเดียวกันเธอก็เบื่อการตั้งคำถามของนักท่องเที่ยวที่มักจะถามว่า เธอเป็นคนที่ไหน... ครั้นทราบว่าเธอเป็นคนกรุงเทพฯ ก็ทำหน้าผิดหวัง วันเพ็ญไม่เข้าใจว่านั่นคือสาระสำคัญอะไรในชีวิต เพราะยังไงทุกคนก็เป็นมนุษย์บนโลกนี้เหมือนกัน จะแบ่งว่าเป็นคน ปาย หรือคนที่อื่นไปเพื่อให้เกิดความขัดแย้งทำไม

    ปาย เป็นเมืองที่มีทั้งชาวไทยใหญ่ ชาวเขาเผ่าต่างๆ คนไทยพุทธ ไทยมุสลิมและชาวต่างชาติ ซึ่งทุกคนอยู่อย่างเคารพซึ่งกันและกัน วันเพ็ญจึงดีใจและมีความสุขมากที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่
       
    ด้าน สุวัฒน์ อาวุธ ศิลปินเจ้าของร้าน "ตากู อาร์ต บาร์" ที่ได้ชื่อว่าเป็นร้านที่เล่นดนตรีสดได้ดีแห่งหนึ่งใน ปาย บางค่ำคืนก็อาจจะมีนักดนตรีพเนจรหิ้วกีตาร์บ้าง แซกโซโฟนบ้าง มานั่งเล่นดนตรีเปิดหมวกสดๆ หน้าร้าน สุวัฒน์เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่ มช. ก่อนหลงเสน่ห์ ปาย อีกคนจนมาอยู่ที่นี่กว่า 3 ปีแล้ว
       
    เขาบอกว่า เสน่ห์ของ ปาย นอกจากธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ผู้คนที่นี่ยังมีความหลากหลาย ทั้งนักเดินทางจากทุกมุมโลกที่มาใช้ชีวิตช่วงท้ายๆ หลังจากตะลอนเที่ยวมาทั่วเมืองไทย ด้วยติดใจในค่าครองชีพที่ต่ำ ที่พักราคาแค่ 80-300 บาท บางคนมีแค่กล้วยหนึ่งหวี น้ำขวดก็อยู่ได้หลายวัน บ้างก็เช่าบ้านจากชาวบ้านอยู่เป็นเดือนๆ บางคนก็มีครอบครัวและทำกิจการอยู่ที่นี่ และหลายคนถือว่า ปาย เป็นบ้านหลังที่สองที่ต้องกลับมาทุกปี มาทีไรก็เจอเพื่อนฝูงและได้มิตรใหม่เพราะความที่เมืองมันเล็ก จึงเจอหน้ากันแทบทุกวัน จนรู้จักและสนิทสนมกันในที่สุด
       
    แต่ในช่วงประมาณ 3 ปีหลังมานี้ สุวัฒน์สังเกตว่าเริ่มมีบูติคโฮเต็ลและรีสอร์ทหรูๆ ระดับติดดาวมาเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักที่อยากจะมาสัมผัสความเป็น ปาย อย่างบรรดาแบ็กแพ๊คเกอร์บ้าง
       
    "เราไม่มีอำนาจไปหยุดเขาได้ แต่อยู่ที่ว่าเราจะรักษาอะไรได้ขนาดไหน ถ้าพูดกันแฟร์ๆ ก็ถือเป็นตัวเลือกให้นักท่องเที่ยวมากขึ้น ถ้าคุณมีเงินมากก็ไปอยู่โรงแรม ถ้ามีเงินน้อยก็ไปอยู่เกสต์เฮาส์ถูกๆ ทีนี้อยู่ที่ผังเมืองมากกว่าว่าเขาจะจัดการผังเมืองยังไงให้มันเรียบร้อยดูดี เพราะไม่งั้นชาวบ้านเองเขามีบ้านไม้เก่าๆ หลังหนึ่งให้เช่าเดือนละ 3,000 แต่พอเขารื้อออกทำเป็นตึกแถว เขาก็ได้ 4 ห้อง ห้องละ 2-3,000 เขาก็ได้เป็นตั้ง 3 เท่า แต่เราไม่สามารถไปบอกไปห้ามเขาได้ เราจะทำยังไงเพื่อไปปลูกจิตสำนึกให้เขารู้ว่าอันนี้คือความงาม"  สุวัฒน์สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของ ปาย ที่เห็นส่วนหนึ่งให้ฟัง
       
ชีวิตหลังสายน้ำ
       
    13 สิงหาคม 2548 หลังจากฝนตกหนักมาตลอดทั้งวันทั้งคืน น้ำจากลำห้วยและแม่น้ำ ปาย ได้ไหลบ่า พัดพาโคลน ก้อนหินและต้นไม้ลงมาจากภูเขาเข้าท่วมตลาดและบ้านเรือนในตัวอำเภอ ปาย โดยเฉพาะเกสต์เฮาส์ริมน้ำหลายแห่งที่เพิ่งฟื้นจากน้ำท่วมคราวก่อนนั้น ถูกน้ำท่วมคราวนี้เสียหายไปเป็นจำนวนมาก
       
    สุวัฒน์กล่าวว่าหลังน้ำท่วมส่งผลให้สูญเสียที่พักไปกว่า 500 ห้อง ทำให้นักท่องเที่ยวที่เคยมาพักอยู่ที่ ปาย เป็นเวลานานๆ ลดน้อยลง เนื่องจากที่พักที่เหลือส่วนใหญ่มีราคาแพง หรือไม่ก็ปรับราคาขึ้น ทว่าท่ามกลางวิกฤตก็ยังเห็นน้ำใจจากนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ที่ต่างพากันจับจอบพลั่วออกมาตามบ้านช่องท้องถนนที่ได้รับความเสียหาย เพื่อช่วยฟื้นฟูเมืองหลังน้ำท่วม บ้างก็บริจาคเป็นสิ่งของเงินทองเพื่อช่วยชาวบ้านที่ประสบภัย
       
    "พอหลังน้ำท่วม นักท่องเที่ยวก็หายไป ทุกอย่างก็หยุดหมด ไม่มีรายได้เข้า ทำยังไง ร้านอาหารที่เช่าอยู่ขายไม่ได้ก็ย้ายออกไป ก็เลยเกิดกลุ่มคนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมมาร่วมมือกันเพราะรอความช่วยเหลือจากรัฐไม่ได้ เราจะรอให้มันพร้อมก่อนค่อยมาจัดงานไม่ไหว เราฟื้นฟูโดยมองไปข้างหน้า อย่างน้อยถ้ามีงานนี้เกิดขึ้นคนมาแน่"
       
    เมื่อ ปาย ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ เขาก็เป็นโต้โผในการจัดงานมหกรรมศิลปะและดนตรีเพื่อฟื้นฟูเมือง ปาย ขึ้นร่วมกับศิลปินมากมาย ผลปรากฏว่า นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมานับหมื่นจนต้องกางเต๊นท์นอน (เพราะที่พักริมน้ำส่วนใหญ่สูญไปกับสายน้ำด้วย) เขาเชื่อว่าในห้วงยามที่หลายคนท้อแท้หลังจากสูญเสียทรัพย์สินไปกับสายน้ำเช่นนี้ มีเพียงการจัดงานเช่นนี้เท่านั้นจึงจะช่วยฟื้นฟูความหวังและกำลังใจกลับคืนมาได้ อีกทั้งยังเป็นการนำเงินรายได้กลับมาสะพัดในเมือง ปาย อีกครั้ง อย่างน้อยภาพที่ออกไปก็เป็นการยืนยันว่า ปาย พร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
       
    พ่อจันทร์ อินทสาร ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีแห่งบ้านศรีดอนชัย ต.เวียงเหนือ อ. ปาย จ.แม่ฮ่องสอน วัย 74 ปีกล่าวว่า ตั้งแต่จำความได้ยังไม่เคยเห็นน้ำท่วม ปาย รุนแรงเท่าคราวนี้มาก่อน หลังจากนั้นทางองค์การปกครองท้องถิ่นและทางภาครัฐได้จัดประชุมถึงภัยพิบัติดังกล่าวขึ้นร่วมกับกลุ่มชาวบ้านในอ. ปาย ซึ่งก็สรุปได้ว่า วิกฤตน้ำท่วมคราวนี้เป็นเพราะชาวเขาตัดไม้ทำลายป่า และผู้มีอิทธิพลเบียดบังเอาร่องน้ำทางเดิน และลำน้ำสาขาของลำห้วย แม่น้ำสาธารณะ
       
    "ทางที่ดินบอกว่าตามระเบียบกฎหมายแล้ว ห้ามออกโฉนดที่ดินริมฝั่งน้ำ ที่ตลิ่งชัน ที่ทางเดินเกาะแก่ง สรุปความแล้วว่า ต่อไปกรมเจ้าท่า สิทธิมนุษยชนและผังเมือง จะมากันที่ออกจากฝั่งน้ำ ปาย ไป 10 เมตร เป็นที่สาธารณะ แม้แต่ร่องน้ำลำห้วยก็เหมือนกัน กันไว้ 2.50 เมตร ทีนี้นายอำเภอจะไม่รับรองที่ที่ไปปลูกสร้างอาคารสถานที่ใกล้ฝั่งน้ำ"
       
    พ่อจันทร์บอกว่ามีคน ปาย จริงๆ นั้นทำธุรกิจที่พักแบบเกสต์เฮาส์แก่นักท่องเที่ยวน้อยมาก ที่เหลือเป็นคนต่างถิ่น หลายปีก่อนหน้านี้มีเจ้าของกิจการบางรายใช้เรื่องยาเสพติดเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยว จัดปาร์ตี้บนเขานอกตัวเมือง พ่อจันทร์กล่าวว่าขณะนี้เป็นห่วงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติของ ปาย เป็นอย่างมาก
       
    "บางครั้งเราโดนเสียดทานจากผู้มีอิทธิพลเยอะ หาว่าเราเป็นเอ็นจีโอ เราไม่ใช่เอ็นจีโอ เราเป็นชาวบ้านที่ต้องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ"
       
    พ่อจันทร์ยอมรับว่า วัฒนธรรมในชุมชนเมือง ปาย เปลี่ยนแปลงไปเยอะจากการท่องเที่ยว อย่างที่ละแวกวัดป่าขามก็เป็นเหมือนถนนข้าวสารเข้าไปทุกทีแล้ว ชาวบ้านบางคนมีบ้านอยู่แถวนั้นก็เปิดชั้นล่างให้เช่า ส่วนตัวเองกับครอบครัวไปอาศัยอยู่รวมกันชั้นบนแทน
       
    "พูดถึงคนเมือง ปาย เขาจะไม่ค่อยชอบเรื่องการท่องเที่ยว คือการท่องเที่ยวมันมีสิ่งที่ดีน้อย สิ่งแปลกปลอมมันมีมาก ยกตัวอย่างนักท่องเที่ยวบางคนก็มาเพื่อหาประโยชน์ส่วนตน มาเสาะหาสิ่งที่ไม่ดียกตัวอย่างเช่น พวกยา ของดีมีที่ไหน แต่บางคนก็ดีมาเพื่อศึกษาภูมิประเทศ ศึกษาธรรมชาติ แล้วก็มีบางคนเอาสิ่งที่ไม่ค่อยดีเข้ามาพร้อมกับการท่องเที่ยว"
       
ปาย สายน้ำกับความเปลี่ยนแปลง
       
    บ่ายวันหนึ่งขณะอยู่บนรถมุ่งหน้าสู่แม่ฮ่องสอน เรามีโอกาสพูดคุยกับพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ จ.แม่ฮ่องสอน ท่ามกลางร่องรอยเสียหายของน้ำท่วมและดินถล่มปรากฏให้เห็นเป็นระยะตลอดสองข้างทาง
       
    พงษ์พิพัฒน์เกิดและทำงานในพื้นที่มาหลายปี เขาเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของเมือง ปาย เท่าที่สังเกตเห็นว่า วิถีชีวิตดั้งเดิมของ ปาย สมัยก่อนจะเป็นชุมชนท้องถิ่นแบบชนบท คนเมือง ปาย จะมีความเชื่อดั้งเดิม เพราะจะมีชนเผ่าอาศัยอยู่รอบๆ มากมาย แม้แต่คนในเมืองเองก็ยังมีความเชื่อเก่าๆ ที่สืบทอดกันมา มีประเพณีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์จัดการทรัพยากร เช่น ภูมิปัญญาเรื่อง "ขึด" ที่จะไม่สร้างบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ
       
    แต่การเข้ามาทำธุรกิจท่องเที่ยวของคนนอก ทำให้วิถีของชาวบ้านเปลี่ยนไป พงษ์พิพัฒน์บอกว่า ถ้าไปเช็คดูตอนนี้จะพบว่า ที่ดินที่ ปาย มีทั้งที่ดินที่ถูกเช่าระยะยาว ที่เหลือเป็นที่ดินของกลุ่มธุรกิจภายนอกเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงนักการเมืองระดับใหญ่ บางครั้งคน ปาย เองก็ต้องเช่าที่ดินจากคนนอกเหล่านี้อยู่อาศัยและทำการเกษตรด้วย
       
    "คนเมือง ปาย ไม่มีวิถีในเรื่องทำธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะวิถีดั้งเดิมไม่มีอย่างนี้ แต่เมื่อเศรษฐกิจภายนอกเข้ามาบีบคั้นทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ต้องส่งลูกเข้าไปเรียนหนังสือในเมือง ทุกอย่างมันต้องใช้เงิน อย่างเคยทำนาได้ผลผลิตไม่ดี เมื่อมีคนภายนอกเข้ามาซื้อเข้ามาเช่าที่ดิน ก็จำเป็นต้องพึ่งพิงสิ่งเหล่านี้เพราะว่าตัวเองไม่มีศักยภาพพอที่จะทำธุรกิจแบบนี้ได้ ไม่มีเงินทุนที่จะลงทุน ทำเกสต์เฮาส์ก็ไม่เป็น พอมีหนี้มีสิน สุดท้ายที่ดินก็หลุดมือ ต้องปล่อยที่ดินไป แล้วตัวเองก็ต้องกลายมาเป็นคนรับจ้างตามเกสต์เฮาส์ มาเป็นหมอนวดแผนโบราณอยู่ในบ้านของตัวเอง"
       
    เมื่อตัวเมืองเปลี่ยนไปจากการท่องเที่ยว เหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นเรื่องปกติจึงกลับกลายเป็นหายนะที่รุนแรง
       
    "ถ้าเป็นน้ำท่วมคนเมื่อก่อนถือว่าธรรมดา พอฝนตกหนักติดต่อกันหลายๆ วัน ปริมาณน้ำในแม่น้ำจะขึ้น แต่หลังจากฝนหยุดแล้วน้ำในแม่น้ำก็จะลดเนื่องจากน้ำจะไหลคืนสู่ร่องน้ำเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว ถึงจะท่วมก็ท่วมแค่ที่นา ที่ดินที่ทำการเกษตรซึ่งสามารถฟื้นฟูได้ แต่ในช่วงหลังที่มีการส่งเสริม มีการโปรโมตการท่องเที่ยว จะเห็นว่าไม่มีการวางแผนหรือมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นน้อยมาก หลังจากนั้นจะเห็นได้ว่าที่เมือง ปาย จากเดิมที่เคยเป็นชุมชน ทุ่งนาที่เคยเป็นเกษตรกรรมกลายเป็นเกสต์เฮาส์ กลายเป็นวัสดุก่อสร้าง ถมทั้งที่นา ถมทั้งทางน้ำ ตัดถนนผ่านทางน้ำโดยที่ไม่มีการวางระบบที่ดีพอ แม้แต่น้ำ ปาย ก็แคบลง ลำห้วยก็ถูกปิดถูกทับถมเกือบทั้งหมด แล้วพอน้ำมาปุ๊บมันก็ทำให้เกิดผลกระทบจากน้ำแรง จากเดิมที่มันเคยมาเป็นร่อง พอมันมาไม่เห็นร่อง มันก็ต้องเข้าทางบ้าน ไปตามถนนที่มันพอไปได้ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากผลกระทบจากการเจริญเติบโตของเมืองที่ขาดการวางแผน"
       
    ทั้งนี้ทั้งนั้น พงษ์พิพัฒน์กล่าวว่า เขาไม่อยากให้มีการกล่าวโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดว่าเป็นผู้ผิด แต่ควรจะมองที่ต้นเหตุของปัญหาและสร้างความร่วมมือให้เกิดพันธมิตรจากเหตุการณ์หายนะที่เกิดขึ้น มากกว่าจะมาตอกย้ำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น ในตอนที่น้ำท่วม ปาย ครั้งแรก ชาวเขาก็ตกเป็น "จำเลย" ไปฝ่ายเดียวเต็มๆ ว่าตัดไม้ทำลายป่า โดยที่ไม่มีใครมองว่าไม้ที่ตัดไปอยู่ที่ไหน
       
    "เราไม่ได้บอกว่าการท่องเที่ยวมันไม่ดี ถ้ามีการจัดการที่ดี แต่ถ้าการจัดการไม่ดี เละ จะเห็นได้ว่าอย่างเมื่อก่อนประมาณปี 41 เกสต์เฮาส์นี่นับได้เลยมีไม่เกิน 5 แห่ง แต่ในปัจจุบันนี้มีเกิน 30 แห่ง แล้ววัสดุที่ใช้ในการสร้างเกสต์เฮาส์เกิน 90% เป็นวัสดุธรรมชาติ อย่างไม้ไผ่ แม้แต่ว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการพานักท่องเที่ยวไปล่องแพก็ใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ โดยที่ขาดการดูแล จะเห็นได้ว่าคนในชุมชนท้องถิ่นเขาไม่มีความคิดที่จะทำธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างนี้หรอก มันมาจากข้างนอก โดยที่ไม่รู้ว่าประวัติศาสตร์การตั้งชุมชนท้องถิ่นมันเป็นยังไง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านเป็นยังไง มีวัฒนธรรมยังไง มีความเชื่ออะไรบ้าง เขาไม่ได้เห็นตรงนี้ไง"
       
    พงษ์พิพัฒน์ยกตัวอย่างลำห้วยน้ำฮูที่ทางน้ำเดิมนั้นเคยไหลทะลุผ่านตลาดแสงทองในอ. ปาย แต่ต่อมาถูกถมทับเพื่อสร้างเป็นตลาด เมื่อน้ำ ปาย ไหลบ่ามาในปลายปีที่แล้วจึงเข้าท่วมอย่างรุนแรงจนตลาดพังทลายลง
       
    "คน ปาย ไม่เคยเห็นน้ำมาแรงอย่างนี้มานานแล้ว ถ้าเป็นความเชื่อของพี่น้องปกากญอหรือว่าคนในท้องถิ่น น้ำมันไม่ได้มาหนักทุกปี มันเป็นแค่บางปี 10-20 ปีมันมีครั้ง คือถ้าไม่ได้ศึกษาระบบชุมชนที่ตั้งขึ้นให้ดี อันนี้คือผลกระทบที่ตามมา พอไปสร้างอะไรที่มันกีดขวางทางน้ำ พอน้ำมาปุ๊บมันก็ทำให้ผลกระทบความเสียหายมันมากขึ้น จากเดิมที่มันแค่ผ่านถนน แต่มันต้องมากระแทกกับคอนกรีต มันก็ทำให้แรงความดันของน้ำ รวมทั้งโคลนด้วยมันเพิ่มขึ้น"
       
    พงษ์พิพัฒน์กล่าวว่า ถ้าพูดถึงการจัดการจะต้องมองทั้งระบบ ทั้งที่ดิน น้ำ ป่าซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกันทั้งหมด ไม่ใช่แค่มองกันเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
       
    "ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวที่ทำมาไม่ค่อยมองถึงทรัพยากรธรรมชาติสักเท่าไร ทั้งที่เมื่อมองดีๆ แล้วมันเชื่อมโยงกับดินน้ำป่าเหมือนกัน ถามว่าน้ำท่วมเพราะป่าถูกทำลายไหม เราก็ยอมรับว่าป่าถูกทำลาย แต่อย่าไปมองที่ปลายเหตุว่าเดี๋ยวจะเอางบประมาณลงมาสร้างฝายแม้ว อันนั้นมันแค่ปลายเหตุ เราจะต้องมองดูที่ต้นเหตุว่าป่าถูกทำลาย แล้วใครเป็นคนทำลาย ทุกวันนี้ชาวบ้านเป็นแค่เครื่องมือในการอ้างเหตุผลว่า ป่าถูกทำลายเพราะชาวเขาทำลายป่า อ้างอย่างนั้นมันจะชัดเจนเพราะชาวบ้านเขาอยู่กับป่ามาก่อน แต่ไม่ได้มองว่าคนที่อยู่กับป่าแล้วทำไมป่ามันยังอยู่ ประเด็นนี้สำคัญมากกว่า แล้วทำไมคนที่อยู่ในเมืองเต็มไปหมดถึงไม่มีป่า เมื่อก่อนมันก็มีป่าแล้วป่าหายไปไหน" คำถามของพงษ์พิพัฒน์แผ่วหายไปกับสายลมที่อื้ออึงอยู่นอกหน้าต่างรถ
       
    สุดท้าย ชายหนุ่มหวังให้ทางภาครัฐเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนโยบายด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้
       
    "หากอีก 20 ปีข้างหน้าเกิดน้ำมันมาแบบนี้อีกจะทำยังไง ถามว่าจะตั้งรับกับเหตุการณ์แบบนี้ยังไง ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้หรอก แต่บางทีการพัฒนาที่มุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจมากเกินไป มันก็เลยขาดการที่จะให้ชุมชนมามีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกัน ต้องถามว่าพี่น้อง ปาย คิดยังไงกับการท่องเที่ยวหรืออยากมีส่วนร่วมกับการท่องเที่ยวยังไง ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวมาจนเยอะกว่าคนเมือง ปาย คน ปาย แทบจะไม่อยากอยู่ในเมือง ต้องหนีมาอยู่ข้างนอก เพราะว่ากลายเป็นถิ่นฝรั่ง กลายเป็นถิ่นมั่วสุม มีปัญหาไม่ต่างจากภูเก็ต พัทยาสมัยก่อน"
       
    ถึงวันนี้ วันที่ ปาย กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงนานารูปแบบ เราคงต้องยอมรับว่าไม่มีใครอาจหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ หากแต่การเรียนรู้จากอดีตและสิ่งที่กำลังเกิดในปัจจุบัน อาจช่วยให้มองเห็นแนวทางในอนาคตของเมือง ปาย "ยูโทเปีย" ของใครหลายคน ที่อาจเป็นเพียงภาพมายาหนึ่ง ก่อนจะกลายเป็น "ซาก" ยูโทเปียอย่างอีกหลายเมืองท่องเที่ยวของโลก
       
ขอขอบคุณที่มา :     เรื่อง รัชตวดี จิตดี
                                         www.manager.co.th
 

ปาย  ปาย  ปาย
                                                                                              ภาพโดย :  http://loorsad.exteen.com 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ลงโฆษณากับออนทูทัวร์ article
ทีลอซู :: โปรแกรมทัวร์ & แพคเกจทัวร์น้ำตกทีลอซู อ.อุ้มผาง จ.ตาก article
แผนที่ดาวเทียม .. สู่ .. น้ำตกทีลอซู article
ทีลอซู .. แพคเกจทัวร์น้ำตกทีลอซู 2 วัน 1 คืน 3,xxx บาท/ท่าน article
เกาะช้าง เกาะช้าง article
เกาะช้าง .. แพคเกจทัวร์เกาะช้าง 3 วัน 2 คืน article
ทริป 3 วัน 2 คืน " ล่องแพพะโต๊ะ & โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ 2 วัน 2 บรรยากาศ " article
ปากน้ำหลังสวน & ล่องแพ, ล่องแก่งพะโต๊ะ & โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ article
งานพืชสวนโลก มหกรรมพืชสวนโลก งานราชพฤกษ์ 2549 article
โครงการหลวง article
สนามบินสุวรรณภูมิ article
ล่องแก่งน้ำเข็ก ล่องแก่งลำน้ำเข็ก article
ล่องแก่งน้ำว้า น้ำว้า article
ดอยอินทนนท์ อินทนนท์ article
ภูชี้ฟ้า ดอยผาตั้ง article
ภูสอยดาว ดอกหงอนนาค article
หัวหิน .. หัวหิน .. หัวหิน จะไป ... หัวหิน article
สวนรถไฟ อุทยานผีเสื้อ article
โฮมพุเตย จ. กาญจนบุรี article
ภูหลวง จ.เลย article
ภูกระดึง article
เกาะกูด .. เกาะกูด .. ชวนเที่ยว เกาะกูด .. คร๊าบบบบ article
เกาะหมาก .. เกาะหมาก article
เกาะเสม็ด .. เกาะเสม็ด article
หมู่เกาะชุมพร หมู่เกาะชุมพร article
หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสุรินทร์ article
หมู่เกาะสิมิลัน เกาะสิมิลัน สิมิลัน article
หมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา ตะรุเตา article
เขาสก - เขื่อนรัชชประภา - กุ้ยหลินเมืองไทย article
เกาะเต่า เกาะนางยวน ... เกาะเต่า เกาะนางยวน article
แผนที่ประเทศไทย และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ article
ตำแหน่ง อุทยานแห่งชาติ ในแผนที่ประเทศไทย article
จะให้คน อยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือไม่ ? อย่างไร ?.. article
เดินป่า อุปกรณ์เดินป่า article
เครื่องเล่น mp4 article
ดูดวงตามช่วงเวลา article
หน้าสถิติของ OnToTour.Com By truehits.net article
Digio Music Online
รับทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์ .. simple แต่มีประสิทธิภาพ
แพคเกจทัวร์ ทะเล หมู่เกาะ ดำน้ำ article
แพคเกจทัวร์ ภาคเหนือ ภู ดอย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ออนทูทัวร์

[ที่พักติดหาดปากน้ำหลังสวน : 99bayresort]