ReadyPlanet.com
dot dot
dot
VinitoTravel Licence 11 / 09847
dot
bulletใบอนุญาตนำเที่ยวของเรา
bulletMy Profile
bulletบอร์ดทีลอซู
dot
ทัวร์ต่างประเทศ By VinitoTravel.Com
dot
bulletทัวร์เวียดนาม
bulletทัวร์เวียดนาม 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์เวียดนามเหนือ
bulletทัวร์เวียดนามกลาง
bulletทัวร์เวียดนามใต้
bulletทัวร์ซาปา
bulletทัวร์ดานัง
bulletทัวร์ดาลัด
bulletทัวร์ลาว
bulletทัวร์ลาว 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์ลาว 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์หลวงพระบาง
bulletทัวร์วังเวียง
bulletทัวร์เวียงจันทน์
bulletทัวร์สิงคโปร์
bulletทัวร์สิงคโปร์ 3 วัน 2 คืน
bulletทัวร์บาหลี
bulletทัวร์บาหลี 4 วัน 3 คืน
bulletทัวร์พม่า
bulletทัวร์พม่า 3 วัน 2 คืน
dot
โปรแกรมช่วง ก.พ.- พ.ค.
dot
bulletแพคเกจทัวร์ .. เกาะกูด 3D2N
bulletน้ำตกทีลอซู จ.ตาก 2D1N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 3D2N
bulletเชี่ยวหลาน+ดำน้ำชุมพร 2D1N
dot
โปรแกรมช่วง มิ.ย. - ต.ค.
dot
bulletทีลอซู .. ทริปเดินเท้า 3D2N
bulletแพคเกจทัวร์ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเขาค้อ-ทับเบิก-ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
bulletเพื่อนบ้านของเรา


จะให้คน อยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือไม่ ? อย่างไร ?.. article

ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว  

Give2allค่ายเด็กรักป่า จ.สุรินทร์กลุ่มเยาวชนต้นหญ้าศูนย์กิจกรรมเพื่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมชมรมเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเครือข่ายผู้นำเยาวชนสำนึกรักษ์แผ่นดินทองชมรมป่าสร้างฝัน จ.ระนองชมรมอาสาสมัครอุทยาน
ค่ายอาสาไทย NGOเพื่อคนรักต้นไม้ และชื่นชอบเฟินสมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติแห่งประเทศไทยชมรมอนุรักษ์นก และธรรมชาติล้านนากลุ่มรักษ์นกกลุ่มอนุรักษ์ปลาไทย และสิ่งแวดล้อมสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ( WCS ) ประเทศไทยWWF ประเทศไทย
มูลนิธิสืบนาคะเสถียรสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชฯมูลนิธิโลกสีเขียวชมรมรักษ์ฉลามวาฬSave Our Seaศูนย์ศึกษาธรรมชาติปางแฟน
                                                         

จะให้คน อยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือไม่ ? อย่างไร ?..

    ร่วมแสดงความคิดเห็น คลิ๊ก!! เข้าบอร์ดครับ

     ชื่อกระทู้นี้ เป็นชื่อผลงานที่เป็นรายงาน ของ ผู้รู้ - ผู้ศึกษา และ คลุกคลีกับป่า กับ เรื่องคนกับป่า มานานครับ..
ท่านอาจารย์ อุทิศ  กุฏอินทร์  เขียนไว้เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ขณะท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ .. จนปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง คณบดี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครับ..
     ผมได้อ่านข้อเขียนนี้มานานแล้ว และ คิดว่ามันก็ยังทันสมัย ยังเหมาะสม... จึงอยากเผยแพร่ข้อเขียนนี้ สู่เพื่อนๆ
ท่านอาจารย์อุทิศ มิได้ทราบ มิได้รู้จัก เป็นส่วนตัว... ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการนำมาเผยแพร่ของผมนะครับ.. ผมคิดว่าดีเอง จึงลงมือเผยแพร่เอง 

จะให้คน อยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือไม่ ? อย่างไร ?..


ภาพโดย  : บอร์ด TWS  www.trekkingthai.com

พิจารณาในเชิงกฏหมาย..

   " ทั้ง พรบ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พรบ. สงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้บ่งไว้ชัดเจนมิให้ราษฎรเข้าไปอยู่อาศัย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ฉะนั้นในเชิงกฏหมายแล้วเป็นที่ชัดเจนว่า มิว่าผู้ใดก็ไม่สามารถอนุญาต ให้ราษฏรเข้าไปอาศัยทำกินในพื้นที่ อนุรักษ์ ทั้งสองประเภทนี้

    หากยังมีแนวคิดที่จะให้คนอยู่กับป่า ในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว ก็คงจะต้องยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง พรบ. ทั้งสองนี้ ซึ่งผมคิดว่าคนส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วย ในขณะที่ประเทศไทยได้พัฒนาทางด้านนี้ จนเป็นที่ยอมรับแล้ว ว่าเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์ของโลก ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่น่าจะถอยกลับไปสู่สภาพเดิมอีก " ...

พิจารณาในเชิง ชีววิทยา - ระบบนิเวศ และ สิ่งแวดล้อม

    " .. หากเปิดโอกาสให้ราษฏรเข้าไปอยู่อาศัย ในพื้นที่อนุรักษ์ ไม่ว่าอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1
ผลกระทบในด้าน ชีววิทยา ระบบนิเวศ และ สิ่งแวดล้อม ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในหลายประการด้วยกัน ผลกระทบแต่ละประการ ยากที่จะหลีกเลี่ยง หรือ บรรเทาได้ โดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้...

    ... การลดและก่อผลกระทบต่อความหลากหลายของมวลชีวภาพ ความหลากหลายของมวลชีวภาพ ทั้ง 3 ระดับ อันได้แก่  ระดับพันธุกรรม ระดับชนิดพันธุ์ และ ระดับสังคม ต้องถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงไป ความหลากหลายของมวลชีวภาพ โดยทั่วไปวัดกันที่ ความมากชนิด และ ความมากมายในแต่ละชนิด เช่น มีพันธุกรรมมากรูปแบบ และ แต่ละแบบมีจำนวนมาก หรือ มีสัตว์หรือพืช ในพื้นที่มากชนิด และ แต่ละชนิดมีประชากรเป็นจำนวนมาก หรือ มีชนิดป่า หรือ สภาพถิ่นที่อาศัยมากชนิด แต่ละชนิดมีพื้นที่กว้างขวาง.. ทั้งนี้ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากมีมนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ ส่วนหนึ่งต้องเสียไป เพื่อการเข้าไปใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ส่วนหนึ่งต้องเสียไป อันเนื่องจากผลกระทบ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และ ขัดต่อหลักการณ์ของพื้นที่อนุรักษ์ เป็นไปได้มากมายในส่วน ที่คาดว่า จะสูญเสีย ได้แก่ ...

   การสูญเสียพื้นที่แหล่ง ต้นไม้ และ ที่อาศัยของสัตว์ป่า 

    " เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และ ทำกินของราษฏร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่จะต้องจัดทำ เช่น ถนนหนทาง แนวเสา ไฟฟ้า อ่างเก็บน้ำ คูส่งน้ำ บ่อพักน้ำ ยิ่งชุมชนใหญ่ก็ย่อมเสียมาก ส่วนที่จะจัดตั้งชุมชนนี้ก็มักเป็นส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดในพื้นที่ จึงเป็นที่ แน่นอนว่าต้องทำลายระบบนิเวศที่ดี - แหล่งสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ และ แหล่งชนิดพันธุ์ที่หายาก ก่อผลกระทบต่อไปถึงความหลากหลายในระดับพันธุกรรม - ชนิดพันธุ์ และ สังคมแห่งชาติพันธุ์ ตามธรรมชาติอย่างหนัก.. 

   ผลกระทบต่อพันธุกรรมของพืช และ สัตว์ป่า

     เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ที่ราษฏรที่อยู่ในพื้นที่ จะต้องนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร - สินค้า - ใช้แรงงาน และ เป็นเพื่อนของมนุษย์ ไม่ว่า สุนัข - แมว - หมู - เป็ด - ไก่ - ไปจนถึง วัว - ควาย - ม้า - ช้าง ซึ่งเห็นได้อยู่ทุกวันนี้ สัตว์เหล่านี้ก่อผลกระทบต่อพันธุกรรม ของสัตว์ป่าอย่างมหาศาล ทั้งในด้านนำเอาพันธุกรรมที่มิใช่เป็นสัตว์ป่าเข้าไปแพร่กระจาย ไปจนถึงนำโรคบางชนิดเข้าไปทำลาย พันธุกรรมบางอย่างที่ต่อต้านโรคนั้นไม่ได้... " 

    ตัวอย่างเช่น การนำเอาวัวสายพันธุ์ต่างประเทศ หรือ ลูกผสมเข้าไปเลี้ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อมก๋อย.. วัวแดง - กระทิง อาจได้รับผลกระทบโดยตรงด้านพันธุกรรม ในอนาคต อาจได้พบวัวลูกผสมทีมีตัวสีขาว - หูยาว วิ่งอยู่ในฝูงวัวแดง คิดว่าทุกท่านคงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น การนำเอาพืชต่างถิ่น และ พืชที่ปรับปรุงพันธุ์แล้วเข้าไปปลูกในพื้นที่ เป็นการนำพันธุกรรมที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เข้าไปสู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ การแพร่กระจายย่อมเกิดขึ้น เช่น การนำมะม่วงที่ปรับปรุงพันธุ์ เข้าไปปลูกตามบ้านเรือน หรือ พื้นที่เกษตร แมลงย่อมนำเกสรออกไปผสมกับมะม่วงป่า ในไม่ช้าสายพันธุ์ป่าที่แท้จริงก็เปลี่ยนไป การนำกะหล่ำ หรือ พืชไร่อย่างอื่นเข้าไปย่อมเป็นการ นำโรค และ แมลงเข้าไปด้วย พืชป่าที่มีลักษณะแบบเดียวกัน แต่มิได้ป้องกันโดยสารเคมี อาจถูกโรคและแมลงเหล่านั้น ทำลายจนหมดไป หรือ เหลือเฉพาะกลุ่มทีมีพันธุกรรมที่ทนทานได้เท่านั้น 

    ผลกระทบต่อพันธุกรรมยังมีมากและลึกซึ้งกว่าที่กล่าวมานี้ หลายชนิดพันธุ์ของพืช และ สัตว์ป่า อาจสูญหายหมดไปอันเนื่องจากผลกระทบ จากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง และ ก่อผลไปสู่สัตว์และพืชนั้นๆ.. 

    หากทุกท่านคิดที่จะอนุรักษ์ความหลากาหลายทางมวลชีวภาพโดยจริงใจแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยให้ราษฏร เข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ของชาติ... " 

   ผลกระทบต่อประชากรของพืช และ สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ 

    " ...ย่อมเป็นที่แน่นอน ว่าพื้นที่อนุรักษ์ส่วนหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการประกอบกิจกรรม เพื่อดำรงชีพของสัตว์ป่าต้องเสียไป  ฉะนั้น ความสามารถในการรองรับประชากรของสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์นั้นย่อมลดลงไป หากสิ่งที่จำเป็นย่อมต้องสูญเสียไป เช่น แหล่งน้ำ  แหล่งผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าบางชนิด สัตว์ป่าชนิดนั้นอาจสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่นั้นก็เป็นได้  ตัวอย่างเช่น  ราษฏรเข้ายึดและใช้พื้นที่ข้างบึงน้ำ ก็จะทำให้สัตว์หมดโอกาส หรือ มีโอกาสน้อยที่จะลงมาใช้น้ำ เมื่อขาดน้ำก็มีผลต่ออัตราการเกิด อัตราการตาย และ การอยู่รอดของสมาชิกในประชากรนั้น สัตว์เลี้ยงที่ราษฏรนำเข้าไปเลี้ยงในป่าอนุรักษ์ มีผลอย่างยิ่งต่อจำนวนสัตว์ ป่าในพื้นที่อนุรักษ์...สาเหตุที่สำคัญได้แก่การแก่งแย่งอาหารของสัตว์ป่า - ก่อกวนกิจกรรมด้านผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกอ่อน - ไล่ล่าประชากร สัตว์ป่า การนำวัวและควาย ไปเลี้ยงเป็นพันๆตัว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยเฉพาะรอบๆหมู่บ้านจะแก - หมู่บ้านแม่จัน - ทำให้ประชากร กระทิง - กวาง เข้าไปใช้พื้นที่รอบๆหมู่บ้านไม่ได้ หมา - วัว - ควาย - ช้าง - ที่เลี้ยงไว้ในลุ่มแม่น้ำแม่จันทะ ทำให้นกยูงและ เป็ดก่า หมดไปจากลุ่มน้ำนี้ การเดินทางไปมาหาสู่กันของคนในหมู่บ้านต่างๆ ขัดขวางกิจกรรมทางด้านเกี้ยวพาราสี และ เลี้ยงลูกอ่อนของนกชนิดนี้ 

    การล่าสัตว์โดยตรงจากน้ำมือของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ... เป็นสาเหตุหลักอีกประการซึ่ง เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง ที่จะสร้างความเข้าใจ และ ยอมรับ กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในป่า ..  ฉะนั้น การลักลอบล่าสัตว์ก็คงมีต่อไป การขัดขวางการไปมาหาสู่กันของสัตว์ในท้องที่ต่างๆ ของพื้นที่อนุรักษ์อันเนื่องจากชุมชน และ กิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดการแตกแยกในประชากรขึ้น นอกจากทำให้พื้นที่มีประสิทธิภาพในการรองรับประชากรน้อยลงแล้ว ยังมีผลต่อการขยายพันธุ์ และ ก่อให้เกิดความแตกแยกในระดับสายพันธุ์ขึ้นได้  การบีบถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ให้เล็กลง และ ก่อผลกระทบต่างๆ อาจทำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ ไปจากพื้นที่ บทเรียนสำคัญ เช่น ไก่ฟ้าหางลายขวาง และ นกเงือกคอแดง หมดไปจาก ดอยสุเทพ และ ดอยอินทนนท์ เป็นต้น.. ทั้งนี้เนื่องจากป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งสอง ถูกทำลายเป็นทุ่งหญ้าคา จากการที่มีราษฏรเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ส่วนผลกระทบต่อประชากรของพันธุ์พืช ก็มีไม่น้อยไปกว่าสัตว์ป่า พื้นที่ส่วนที่ดี - เป็นที่รวมของพรรณพืชมากชนิด ย่อมแสดงออกถึงความสมบูรณ์ของดิน ฉะนั้น จึงเป็นแหล่งที่ราษฏรต้องการที่จะเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย - ทำกิน และ ปล่อยสัตว์เลี้ยง ด้วยเหตุนี้พันธุ์ไม้หลายชนิดจึงต้องลดจำนวนลง ไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกตัดไปแต่ละต้น มักเป็นที่อาศัยของไม้ขนาดเล็กที่มีแหล่งกระจายแคบอีกมากมาย เช่น กล้วยไม้ - กาฝาก - ไม้ยึดเกาะ ไปจนถึง ไลเคนส์ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ขนาดเล็กที่ขึ้นอิสระบนดิน แต่ อาศัยร่มเงาอยู่ใต้ไม้ใหญ่อีกจำนวนไม่น้อย ย่อมสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงไปด้วย.. หากมองลึกลงไปถึง แบคทีเรีย และ เชื้อรา ย่อมมีการสูญเสียมากยิ่งขึ้นไปอีก การเลือกกินและทำลาย ของสัตว์เลี้ยง ก็มีผลกระทบไม่น้อยต่อการ ลดลงของพันธุ์ไม้ป่า ... "

   ผลกระทบต่อสังคม และ ระบบนิเวศ

    การยอมให้ราษฏรเข้าไปทำมาหากินในพื้นที่อนุรักษ์ ย่อมหลีกเลี่ยงเสียมิได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และ สังคมแห่งชีวิตตามธรรมชาติในพื้นที่ การยอมให้ราษฏรใช้สารเคมี ไม่ว่า ยาฆ่าแมลง - ยาฆ่าหญ้า - ปุ๋ย ตลอดจนน้ำในพื้นที่ ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแผ่กว้างออกไป จากพื้นที่ที่ยอมให้นั้น.. ยาฆ่าแมลงนอกจากฆ่าแมลงในแปลงของเกษตรกรนั้นแล้ว อาจมีผลไปถึงแมลงในป่า ต่อไปสู่สัตว์ที่กินแมลง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่แห่งอาหาร และ สายใยแห่งอาหาร ที่เคยผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง ให้ขาดตอนไปได้..  การเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งหมดย่อมเกิดขึ้น ยาฆ่าหญ้าอาจมีผลตกค้างกระจายออกไปสู่ลำห้วยลำธาร ทำลายหรือกระตุ้นพืชบางอย่างให้ล้มตายไป หรือ บางอย่างระบาดจนเป็นผลเสียหายต่อชีวิตในระบบ ในส่วนของปุ๋ยก็เช่นกัน พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้น ในการก่อกิจกรรมไม่ว่า การออกดอก - ออกผล หรือ แตกใบ ยังต้องการสัดส่วนของธาตุอาหารในดิน ต่างกันด้วย

     การเพิ่มปุ๋ยเข้าไปในระบบนิเวศ ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคม ทั้งในส่วนที่เป็นพืช และ สัตว์ การทำลายป่าลงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย - ปลูกพืช ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพปัจจัยแวดล้อมในท้องถิ่น ไม่ว่า ภูมิอากาศ - ดิน - หรือ สภาพภูมิประเทศ ไฟป่า ที่ราษฏรต้องใช้เป็นเครื่องมือในการ ทำความสะอาดพื้นที่ก่อนการปลูกพืชไร่ สิ่งเหล่านี้จะแผ่กว้างเข้าไปในป่าส่วนที่เก็บรักษาไว้ และ ทำให้สภาพปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป พื้นที่โล่งเตียนที่ถูกเปิดกว้างไม่ว่าในระดับใด ย่อมแผ่อิทธิพลสู่ป่าข้างเคียง ฉนั้น ระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบต้องปรับโครงสร้างและองค์ประกอบใหม่ จะเป็นไปในทางดีหรือเลว ... ยากที่จะคาดเดาได้ แต่แนวโน้มคงไปในทางเลวลงมากกว่าดีขึ้น การปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าสู่ป่านอกจากทำให้ผิวดินแน่นขึ้น - เกิดการกัดชะได้ง่ายแล้ว - ยังทำลายพืชผิวดินให้โล่งเตียน.. สัตว์และพืชขนาดเล็กบนผิวดิน และ ในดิน ย่อมเปลี่ยนแปลงหรือหมดไปได้ โดยแท้จริงแล้วองค์ประกอบส่วนนี้ของป่ามีความสำคัญยิ่งต่อการ ส่งผ่านพลังงาน และ หมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ สังคมแห่งชีวิตตามธรรมชาติ ที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ต้องเสียความสมดุลไป - อาจถึงกาลสลายตัวได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายยังคิดที่จะยอมเสี่ยงหรือ ?

   ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

    "... เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าป่าอนุรักษ์มีความสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการอยู่รอดของมนุษย์ - ไม่ว่าอากาศบริสุทธิ์ - ป้องกันรังสีอันตรายจากนอกโลก - อุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสม - ฤดูกาลที่มนุษย์ปรับตัวมาจนเคยชิน และ สภาพความงามตามธรรมชาติก่อให้เกิดจิตใจที่ผ่องใส จัดได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักประการหนึ่ง ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  เมื่อยอมให้ราษฏรเข้าไปอยู่อาศัยทำมาหากินในพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าวนี้ อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็ต้องเสียหายไป ผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นมิได้อยู่เฉพาะกลุ่มคนที่เข้าไปอาศัยนั้น แต่คนทั้งชาติอาจรวมถึงส่วนอื่นของโลก และ ในรุ่นลูกหลานต่อไปด้วยที่ต้องร่วมกันรับความลำบาก การเผาพื้นที่และป่าโดยรอบที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ก่อความไม่บริสุทธิ์ให้แก่บรรยากาศ การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ หมายถึง การเพิ่มความร้อนบนผิวโลก - ลดความชื้นอันจะก่อความชุ่มชื้นให้แก่ร่างกาย - ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล - ลมพัดรุนแรงและอาจก่อให้เกิดพายุหมุนเนื่องจากการคั่ง ของความร้อนเป็นจุดๆ การระเหยน้ำจากผิวดินเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกพัดพาไปหมดสิ้น สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนทำให้สภาพแวดล้อมเลวลง ความงามตามธรรมชาติที่แท้จริง สูญหายไป  อุทยานแห่งชาติ และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ก็มีสภาพไม่แตกต่างจาก หมู่บ้าน หรือ พื้นที่เกษตรกรรมที่เห็นอยู่อย่างจำเจ ... "

    ".. เมื่อชุมชนและการเกษตรเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์ ก็ย่อมจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้สารเคมี เข้าไปในธรรมชาติที่บริสุทธิ์ การแพร่กระจายของสารพิษโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง มิได้จำกัดอยู่เฉพาะชุมชนเหล่านั้น... แต่จะหลั่งไหลลงมากับสายน้ำก่อความเสียหาย ต่อสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรับกรรมด้วยโดยปริยาย ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด เช่น การปลูกกะหล่ำปลี และ มะเขือเทศ ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น.. ซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างหนัก ส่งผลกระทบลงมาสู่อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล และ ต่อมาถึงราษฏร ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด.... เมื่อมีชุมชน ก็ย่อมมีการติดต่อกับโลกภายนอก - มีการใช้ถุงพลาสติก - กระป๋อง - ขวดพลาสติก และ อื่นๆอีกมากมาย... ส่วนหนึ่งอาจนำขึ้นไปโดย ราษฏรที่อยู่ในท้องที่ - อีกส่วนหนึ่ง นำขึ้นไปโดยผู้ที่เข้าไปค้าขาย เป็นคนกลาง ที่จะนำผลผลิตทางการเกษตรออกมาสู่ตลาด และ อีกไม่น้อย ที่นำเข้าไปโดยผู้เยี่ยมเยือน.. ในที่สุด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นก็พอกพูน - กระจัดกระจาย - ไปทั่วป่าหาผู้รับผิดชอบมิได้...

    ".. เป็นการยากยิ่ง ที่จะฝึกอบรมให้คนเหล่านั้นช่วยกันป้องกันดูแล สภาพเช่นนี้ปรากฏให้เห็นได้ทั่วไป ในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ที่มีชุมชนอยู่ภายใน ดังเช่น อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย บริเวณ หมู่บ้านม้ง และ บริเวณร้านค้าข้างพระราชวัง ภูพิงค์ราชนิเวศ - บริเวณหมู่บ้านชาวเขาใกล้วัด ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์... ความสกปรกอันเกิดจากสัตว์เลี้ยง นับเป็นเรื่องยากยิ่งที่ให้ราษฏร เข้าไปทำมาหากินและอาศัย อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ แล้วมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงเกือบทุกชนิดเมื่อมีจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดความสกปรก โดยเฉพาะมูลสัตว์... นอกจากส่งกลิ่นเหม็นแล้วยังเกิดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนความไม่น่าดู เป็นแหล่งกระจายโรค โดยเฉพาะพยาธิชนิดต่างๆ อาจระบาดลงมาตามลำน้ำ สู่ชุมชนภายนอก... ในอุทยานหลายแห่งกำลังประสบปัญหาดังกล่าวนี้ เช่น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง.. ซึ่งมีวัวและควายถูกนำเข้าไปเลี้ยง ไม่ต่ำกว่า 2000 ตัว.. ในพื้นที่สวยงามหลายจุด เต็มไปด้วย มูลวัว - ควาย ส่งกลิ่นเหม็น ทำลายบรรยากาศของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ... " 


  
                                                                  ภาพโดย  : บอร์ด TWS  www.trekkingthai.com


พิจารณา ในเชิงของสังคม - การปกครอง และ การบริหารพื้นที่ 

 .. ".. ราษฏรที่อาศัย อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ อุทยานแห่งชาติทั้งหมดในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นจำนวนไม่มากเมื่อเทียบ กับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ทีมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 56 ล้านคน [2536]  ราษฏรส่วนใหญ่มีความเกรงกลัว และ เคารพต่อกฏหมาย ซึ่งเป็นกฏหมายที่ตราขึ้น โดย ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฏร... ฉะนั้น จึงเชื่อได้ว่ากฏหมายที่ยังคงใช้อยู่ย่อมเป็นประโยชน์ และ จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมส่วนรวม.... การปล่อยให้ประชาชนส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ โดยผิดกฏหมาย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจกลายเป็นการก่อปัญหา - สร้างความแตกแยก ขึ้นในสังคม - ราษฏรที่ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง ดำรงชีพโดยการ รับจ้างอยู่ในชุมชน ในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฏหมาย ย่อมต้องการที่จะเรียกร้องสิทธิเข้าไปอาศัยทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ ... ยิ่งไปกว่านั้นราษฏรที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ และ ถูกให้ออกไป หรือ รัฐได้จัดพื้นที่แหล่งใหม่ให้... แต่มีสภาพความสมบูรณ์ น้อยกว่า... ก็จะต้องเรียกร้องกลับเข้ามาใหม่ - ความวุ่นวายในสังคมย่อมก่อตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ..."

    ".. นอกจากนี้ราษฏรโดยรอบ หรือ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าในด้านมลพิษ หรือ การขาดแคลนน้ำเนื่องจากถูกผันออกไปใช้จนหมดสิ้น ... ก็จะต้องเรียกร้องสิทธิและความชอบธรรมบ้าง ในปัจจุบันราษฎรส่วนนี้ ได้มองเห็นผลกระทบในหลายแห่ง และ มีการเรียกร้องขึ้นในหลายพื้นที่ ความลำบาก และ ยุ่งยากใจ คงตกอยู่กับ กรมการปกครอง และ กรมป่าไม้... ที่ต้องให้ความยุติธรรมแก่ราษฏร และ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นสมบัติของส่วนรวม.. ปัญหาการเรียกร้องเพื่อได้สิทธิในพื้นที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตและการเปลี่ยนเจ้าของที่ดิน คงตามมา หรือไม่ก็ต้องการสิทธิในการจำนอง.. ในที่สุด การเข้าไปทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมยิ่งขึ้นในพื้นที่ - ก็ตามมา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยอม ให้ชนชาวไทยภูเขาอยู่ได้ชั่วคราว... ได้มีการให้ราษฏรไทยพื้นราบ ขึ้นไปเช่าที่อาศัยชื่อชาวเขา - ทำการเกษตรในพื้นที่อุทยานแล้ว... ปัญหาเช่นนี้ จะยิ่งรุนแรงเมื่อมีการยอมให้ราษฏร เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่... "

    "... ปัญหาการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อราษฏรตั้งหลักแหล่งในพื้นที่อนุรักษ์ได้ ก็ย่อมมีการ ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะด้านสุขาภิบาล.. 
ความจำเป็นขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช่น โรงเรียน - วัด และ สถานที่ประกอบกิจทางศาสนา แหล่งน้ำ - ไฟฟ้า ในทีสุดประชากรที่มิได้มีการควบคุมในด้านอัตราการเกิด ก็มีอัตราการรอดตายมากขึ้น มิได้เป็นเหมือนในอดีต เมื่อสามสิบ หรือ สี่สิบปีที่แล้ว.. คนหนุ่มสาวที่แต่งงาน แยกครอบครัว ก็ต้องเรียกร้องขอที่ทำกิน จึงหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องทำลายป่าเพิ่ม .. ทั้งเพื่อเตรียมความต้องการพื้นฐานของชุมชน - ไปจนการขยายพื้นที่ทำกินออกไป... ในที่สุด ก็กลายเป็นเมืองขึ้นมา... ในด้านการปกครอง นับได้ว่าเป็นการก่อปัญหาค่อนข้างรุนแรง อันดับแรกก็คือ ก่อความไม่น่าเชื่อถือให้แก่ราษฏรที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฏหมาย อาจมีการเรียกร้อง หรือ บุกรุกโดยพลการเข้าไปอาศัยในพื้นที่อนุรักษ์บ้าง เป็นการยากที่ข้าราชการระดับท้องที่ ที่จะให้เหตุผลและผลักดันออกไป... การที่ปล่อยให้ราษฏรกระจัดกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในพื้นที่อนุรักษ์ เป็นการยากต่อการดูแลปกครอง.. โอกาสของการทำความผิด หรือ ฝ่าฝืนกฏหมาย - มีมาก  เช่น การปลูกฝิ่น - การค้าของเถื่อน - การลักลอบตัดไม้ รวมถึงการยุยงให้ก่อกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อประเทศ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือต่างๆ กระทำได้โดยยาก - ไม่คุ้มการลงทุน.. "

    ".. ผลกระทบต่อการบริหารงานในพื้นที่อนุรักษ์แบบต่างๆ การยอมให้ราษฏรเข้าไปอาศัยทำกิน ในพื้นที่อนุรักษ์แบบต่างๆ ย่อมก่อปัญหาค่อนข้างรุนแรงต่อการบริหารพื้นที่อนุรักษ์นั้นๆ โดยเฉพาะงานด้านการป้องกันและปราบปราม - งานพัฒนาพื้นที่ - รวมถึงงานส่งเสริมเผยแพร่ และ วิชาการในด้านการป้องกันและปราบปราม ย่อมกระทำให้สมบูรณ์ได้ยากยิ่ง... เมื่อราษฏรเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ก็ย่อมมีการเข้า - ออกตลอดเวลา การตรวจสอบกระทำได้ยาก - การลักลอบเอาไม้ หรือ ซากสัตว์ หรือ สัตว์เป็น ย่อมกระทำได้ง่ายขึ้น  ทั้งราษฏรที่อาศัยในพื้นที่ หรือ ผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน การจุดไฟเผาป่าย่อมมีมากขึ้นทั้งจากการเผาไร่เพื่อประโยชน์บางอย่าง ปกติหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ มักเป็นที่พักพิงของบุคคลภายนอก ที่เข้าไปล่าสัตว์ - และ เก็บหาของป่า... และ เป็นแหล่งติดต่อว่าจ้างให้กระทำผิด เพื่อผลประโยชน์ของนายทุนภายนอก... การยอมให้ราษฏรเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ ย่อมเพิ่มปริมาณงานให้แก่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานหนักยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการตรวจสอบ - ว่ากล่าว - ตักเตือน รวมถึงการให้ความรู้ทางกฏหมาย ซึ่งจะต้องทำให้รัฐต้องเพิ่มกำลังบุคลากร - อันนำไปสู่การเสียงบประมาณของชาติ... ปัญหาที่ยากยิ่งอย่างหนึ่ง ก็คือ การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ของราษฏร มิให้กระจายออกไปกว้างขวาง กว่าพื้นที่ที่ยอมให้ .. ราษฏรส่วนใหญ่จะไม่ยอมเข้าใจถึงผลกระทบ และ ปล่อยสัตว์ออกไป เช่น วัว - ควาย ที่ใช้พื้นที่รอบหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร.. อาจเข้าไปเหยียบย่ำพื้นที่แหล่งความงามตามธรรมชาติที่จัดไว้เพื่อการท่องเที่ยวชมธรรมชาติ จนหมดสภาพไป การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่อาจถูกขัดขวาง เนื่องจากการก่อผลกระทบ ให้แก่หมู่บ้านเหล่านั้น การกระทำที่ผิดหลักการณ์ของพื้นที่อนุรักษ์... จะกลายเป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่ จะต้องตอบแก่บุคคลที่เข้าไปเยี่ยมพื้นที่ ทั้ง ชาวต่างประเทศ ไปจนถึงเยาวชนในชาติ.. ความศรัทธาในตัวเจ้าหน้าที่ และ รัฐบาลจะหมดไป ..." 

     ... รัฐบาลมีความจำเป็นจริงหรือ ? ที่ต้องให้ราษฏรเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ 
ในสภาวะที่พื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ของประเทศลดน้อยลง เหลืออยู่ไม่เกิน ร้อยละ 26.7 ของพื้นที่ประเทศ [2536] .. และ ที่ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ อุทยานแห่งชาติประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าป่าส่วนที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์นี้ จะต้องคงความสมบูรณ์อยู่ตลอดไป.. ฉะนั้น จึงไม่ควรเสี่ยงให้ราษฏรเข้าไปทำกินในพื้นที่ส่วนนี้ ซึ่งถ้าหากเป็นแนวทางที่ผิดพลาดแล้ว ยากต่อการที่จะนำราษฏรเหล่านั้น ออกจากพื้นที่อนุรักษ์ได้.. หากพิจารณาพื้นที่ทำกินที่รัฐได้ปล่อยออกไปเพื่อผลิตทางด้านการเกษตรแล้ว นับว่าเป็นพื้นที่เป็นจำนวนมากพอสมควร คาดว่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศ... แต่พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ถูกนำไปเก็บไว้โดย มิได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า... บางพื้นที่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำมาก - ยังมีราษฏรจำนวนไม่น้อยที่มีที่ดินเกินกว่า 25 ไร่ และ มิได้สร้างผลผลิตทางการเกษตรเท่าที่ควร... คงเก็บที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไร หากรัฐบาลสามารถใช้กลยุทธที่ทำให้ราษฏรนั้นปลดปล่อย พื้นที่ออกมา และ ทำการปฏิรูปที่ดิน ก็ย่อมแก้ปัญหาการขาดแคลนที่ทำกินของราษฏร ที่จะต้องเข้าไปอาศัยในป่าอนุรักษ์ได้... 

    "... ทางเลือกอีกประการหนึ่ง ก็คือ การสร้างงานด้านอุตสาหกรรมและอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก และ ทำการดึงแรงงานภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้น้อย และ ไม่แน่นอน ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม - บริการ ให้มากขึ้น... โดย มีรายได้สูงพอสำหรับค่าครองชีพ และ มีการประกันสังคมที่ดี ราษฏรก็จะไม่ยึดติดอยู่กับที่ทำกิน.. พื้นที่ส่วนอื่นๆ ที่มิใช่ป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่จัดแบ่งเป็นป่าชุมชน และ ป่าผลิตผล ยังมีอยู่มากพอที่จะแก้ปัญหาในช่วงสั้นได้ และ มีวิธีการกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าใช้ที่ทำกินชั่วคราว พร้อมกับให้ปลูกไม้ป่า เพื่อสร้างผลิตผลด้านเนื้อไม้ด้วย ... เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ภายในประเทศ... การเสนอให้ราษฏรเข้าไปอาศัยทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ เป็นแนวคิดของคนกลุ่มน้อยของประเทศ ที่ขาดพื้นฐานทางด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และ การอนุรักษ์ธรรมชาติ รัฐควรที่จักได้หาแนวทางใหม่ที่ไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย.... หากไม่มีทางเลือกที่ดีไปกว่านี้ รัฐบาลควรที่จักได้เพิกถอนพื้นที่อนุรักษ์เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อมิให้สูญเสียความศักดิ์สิทธิ์ ของกฏหมาย และ ความยุติธรรมในสังคม รวมถึงการสูญเสียงบประมาณที่ต้องเสีย ไปกับการดูแลพื้นที่ . 

ที่มา; จะให้คนอยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือไม่ - อย่างไร ?.. อุทิศ กุฏอินทร์...

วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ธันวาคม 2536

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ภาพโดย  : บอร์ด TWS  www.trekkingthai.com


_____________________________________________________________________________________

    จบครบกระบวนความแล้วครับ กับ บทความของท่านอาจารย์ อุทิศ... หลายอย่างเป็นสิ่งที่เกิดมาแล้ว 13 ปี หลายความเห็นต้องนึกทวนย้อนคิดตาม... และ หลายอย่างเป็นอมตะ เป็นความจริง ไม่มีผลเกี่ยวกับกาลเวลา.. สิ่งที่ผมประทับใจจากบทความนี้... ก็คือ การมองสิ่งใดๆแบบองค์รวม หรือ ระยะหลังมานี้เข้าใจในคำว่า บูรณาการ สังคมเรานี้วุ่นวายถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด แทบจะทุกครั้งเกิดจากการมองไม่รอบ ไม่เป็นองค์รวม... มองเป็นส่วน และ มักเป็นส่วนที่ตัวเองเชื่อ.. 

    การที่เราจะตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ... มิใช่แค่ไม้สัก - มิใช่แค่ไม้กฤษณา - หรือ สิ่งที่ตอบแทนด้วยเงินตรา แต่มันหมายไปถึง คุณค่าของธรรมชาติ ในการรวมกันอยู่ เพื่อเป็นธรรมชาติ ซึ่งพ้นไปจากเรื่องเศรษฐกิจ - เรื่องตัวเอง - เรื่องปากท้อง แต่ น่าจะหมายไปถึง สิ่งเล็กน้อย เห็ด - รา ... ลำธารหน้าบ้านเรา - แม่น้ำเพื่อคนไทย - อากาศเพื่อคนทั้งโลก มันคือ การมองออกไปเพื่อคนอื่นบ้างครับ 

    นักวิชาการรู้ - ครูรู้ - กำนันรู้ - ตำรวจรู้ - ป่าไม้รู้ - หมอรู้ - พ่อค้ารู้ - คนชนบทรู้ - คนเมืองรู้ - ทุกคนรู้ 

    รู้อะไรครับ ?...

    รู้ให้รอบๆครับ ไม่ต้องรู้ละเอียดก็ได้ครับ แต่ต้องรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรากระทำลงนั้น มันไปมีผลกระทบอะไรต่อไปอีกบ้าง - ถ้ามีแล้วใครเกี่ยวบ้าง - ถ้าจะไม่ให้เกิดต้องทำอย่างไรบ้าง... แม้หัวข้อของบทความจะพูดถึง การรบกวนป่าอนุรักษ์ ... แต่ มันใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ใช้ได้กับทุกที่ และ เป็นความรู้สึกที่ เราทุกคนในสังคมควร รู้สึก - ตระหนัก - ให้ความสำคัญให้มากๆด้วย... มันคือ ฐานคิด ซึ่งเคารพธรรมชาติ - เคารพสิ่งอื่นๆ - เคารพคนอื่นๆ... คนที่มองด้านสังคมเลิกดื้อ - คนมีความรู้ออกมาบอกเล่า - คนลงมือทำ ฟังให้มากก่อนทำอะไร... เท่านี้บ้านเราก็ไม่สิ้นหวังแล้วครับ...

    ที่ผ่านมาเรามักจะตะโกนบอกทางกันจากคนละมุม พวกช่วยชาวบ้านก็เถียงหัวชนฝาไม่คิดถึงป่า - พวกวิจัยป่าก็ด่าว่าชาวบ้านโดยไม่มีคำอธิบาย - นักการเมืองก็เอาใจคนกาบัตร โดย ไม่แคร์หน้าอินทร์หน้าพรหม เจ้าป่า - เจ้าเขา... เลิกกันเสียทีนะครับ การถกเถียงที่ไร้สาระ และ ไม่ให้ทางออกแก่อะไรเลยแบบนั้น... เรามาช่วยกันสร้างวิธีการโต้แย้งแบบสร้างสรรค์  ด้วยการอธิบาย - ซึ่งพยายามใช้เหตุผลนำหน้าอารมณ์... ป่า และ ธรรมชาติ บ้านเรา จะได้อยู่คู่เราไปนานๆนะครับ..

    ขอบคุณข้อเขียนชิ้นนี้ และ ผู้เข้ามาอ่านทุกท่านครับ 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความนี้ :  พี่ประพนธ์  ผู้ดูแลบอร์ด TWS ของ www.trekkingthai.com 


                                    ภาพโดย  : บอร์ด TWS  www.trekkingthai.com




แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ลงโฆษณากับออนทูทัวร์ article
ทีลอซู :: โปรแกรมทัวร์ & แพคเกจทัวร์น้ำตกทีลอซู อ.อุ้มผาง จ.ตาก article
แผนที่ดาวเทียม .. สู่ .. น้ำตกทีลอซู article
ทีลอซู .. แพคเกจทัวร์น้ำตกทีลอซู 2 วัน 1 คืน 3,xxx บาท/ท่าน article
เกาะช้าง เกาะช้าง article
เกาะช้าง .. แพคเกจทัวร์เกาะช้าง 3 วัน 2 คืน article
ทริป 3 วัน 2 คืน " ล่องแพพะโต๊ะ & โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ 2 วัน 2 บรรยากาศ " article
ปากน้ำหลังสวน & ล่องแพ, ล่องแก่งพะโต๊ะ & โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ article
งานพืชสวนโลก มหกรรมพืชสวนโลก งานราชพฤกษ์ 2549 article
โครงการหลวง article
สนามบินสุวรรณภูมิ article
ล่องแก่งน้ำเข็ก ล่องแก่งลำน้ำเข็ก article
ล่องแก่งน้ำว้า น้ำว้า article
ดอยอินทนนท์ อินทนนท์ article
ภูชี้ฟ้า ดอยผาตั้ง article
ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย ปาย .. ปาย กัน article
ภูสอยดาว ดอกหงอนนาค article
หัวหิน .. หัวหิน .. หัวหิน จะไป ... หัวหิน article
สวนรถไฟ อุทยานผีเสื้อ article
โฮมพุเตย จ. กาญจนบุรี article
ภูหลวง จ.เลย article
ภูกระดึง article
เกาะกูด .. เกาะกูด .. ชวนเที่ยว เกาะกูด .. คร๊าบบบบ article
เกาะหมาก .. เกาะหมาก article
เกาะเสม็ด .. เกาะเสม็ด article
หมู่เกาะชุมพร หมู่เกาะชุมพร article
หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสุรินทร์ article
หมู่เกาะสิมิลัน เกาะสิมิลัน สิมิลัน article
หมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา ตะรุเตา article
เขาสก - เขื่อนรัชชประภา - กุ้ยหลินเมืองไทย article
เกาะเต่า เกาะนางยวน ... เกาะเต่า เกาะนางยวน article
แผนที่ประเทศไทย และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ article
ตำแหน่ง อุทยานแห่งชาติ ในแผนที่ประเทศไทย article
เดินป่า อุปกรณ์เดินป่า article
เครื่องเล่น mp4 article
ดูดวงตามช่วงเวลา article
หน้าสถิติของ OnToTour.Com By truehits.net article
Digio Music Online
รับทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์ .. simple แต่มีประสิทธิภาพ
แพคเกจทัวร์ ทะเล หมู่เกาะ ดำน้ำ article
แพคเกจทัวร์ ภาคเหนือ ภู ดอย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ออนทูทัวร์

[ที่พักติดหาดปากน้ำหลังสวน : 99bayresort]